07 ธันวาคม 2556

การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรง (ตอนที่4)

คำอธิบายเพิ่มเติมประกอบแนวคิด นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรง

1.    ที่มาของนโยบาย

ก.    ผู้สมัครสายอิสระ สายพรรคการเมือง หรือสายมหาวิทยาลัย จะการประชุมร่วมกันแต่แรก จึงอาจมีบางคนถอนตัว แลกกับให้มีนโยบายของตนบรรจุไว้กับผู้สมัครบางคนที่เห็นว่ามีศักยภาพกว่าหรือสูงสุด แล้วตกลงใจช่วยหาเสียงแลกกับตำแหน่งทางการเมืองหากมีชัยชนะ แล้วแต่ข้อตกลง  ดังนั้นการถอนตัวแลกกับการบรรจุนโยบายลงตัวแทนของผู้สมัครจึงเป็นการสะสมนโยบายอย่างหนึ่ง เป็นการบูรณการนโยบายเข้าไว้ด้วยกันแล้วกลายเป็นนโยบายที่สมบูรณ์ระดับชาติในรอบสุดท้าย หรือ

ข.    การสะสมนโยบายเกิดขึ้นได้ในแต่ละรอบ  เพราะมีผู้สอบตก  ดังนั้นผู้เข้ารอบต่อไปมีสิทธินำนโยบายบางส่วนของคนตกรอบมาบรรจุเพิ่มเติมไว้ใน นโยบายของตน และอาจได้รับการสนับสนุนช่วยหาเสียง จากคนที่ตกรอบ ทำให้มีการสะสมนโยบาย และสะสมผู้ช่วยหาเสียงตามธรรมชาติ ตั้งแต่การเลือกตั้งรอบที่สองเป็นต้นไป

ค.    นโยบายรอบสุดท้าย ซึ่งมีแข่งขันกันสองคน หรือสองทีมนั้น นโยบายต้องผ่านการเห็นชอบจากรัฐเสียก่อน  เช่น ประกอบด้วยตัวแทนของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ ที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  สำนักนายกรัฐมนตรี อัยการสูงสุด กฤษฎีกา กระทรวงมหาดไทย เพื่อให้เป็นนโยบายที่มีประโยชน์อย่างยั่งยืน และไม่เกิดการก่อหนี้ที่ไม่จำเป็น

2.     การเสนอชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง

ก.    สายผู้สมัครอิสระ ผู้สมัครอิสระมาประชุมพร้อมกัน  และอาจมีมติให้บางคนเป็นตัวแทนของสายเพื่อเข้าต่อสู้แข่งขัน ส่วนผู้สมัครที่เหลือถอนตัวแล้วช่วยหาเสียงและบูรณาการนโยบาย ทั้งหมดไว้ด้วยกัน  เช่น ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์  ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์  สมัครแบบ 2556.2 ในนามสายอิสระ และมีผู้สมัครอื่นๆ รวมแล้ว 10 คน  อาจมีการตกลงให้เหลือ 1 คน คือ ดร.ศุภชัย  เป็นตัวแทนของสายผู้สมัครอิสระ  ส่วนผู้สมัครที่เหลืออาจตกลงใจนำนโยบายเดิมของตนเองให้บรรจุในนโยบายของผู้สมัครที่เป็นตัวแทน  แล้วช่วยหาเสียงให้  และอาจมีสัญญาใจ หรือประกาศให้สาธารณะรับทราบว่า หากตนชนะ แล้วจะให้ผู้สมัครบางคนดำรงตำแหน่งในครม.  เช่น  ดร.ปุระชัย ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่ง รมว.มหาดไทย เป็นต้น

ข.    สายพรรคการเมือง  พรรคการเมืองจำนวนมากประชุมกัน แล้วอาจเสนอชื่อมาเพียง 2 ชื่อก็ได้ซึ่งเป็นตัวแทนของ 2 พรรค  ส่วนพรรคที่เหลือมาช่วยจัดทำนโยบาย และช่วยหาเสียงให้พรรคที่ตนสนับสนุน ซึ่งพอจะเห็นภาพร่างครม.ในอนาคต  หรืออาจมีการไพรมารี่ให้เหลือตัวแทนสายเพียง 1 คน(ของบางพรรคการเมือง) อาจเกิดความร่วมมือร่วมใจ ในการหาเสียงและเป็นครม.ร่วมกันในอนาคต แม้ทั้ง 2 พรรคเคยเป็นคู่ขัดแย้งกันมาก่อนก็ตาม เช่น เมื่อสายผู้สมัครอิสระ  มีมติส่งเข้าสมัคร 1 คน คือ ดร.ศุภชัย  ฝ่ายพรรคการเมืองอาจถูกบังคับ และถูกกดดันให้ต้องร่วมมือกันเฟ้นหาตัวผู้สมัครที่มีศักยภาพและฝีมือ พอสู้สายผู้สมัครอิสระได้  ซึ่งที่สุดแล้วจะเหลือผู้สมัครเพียง 1 รายชื่อเท่านั้นก็ได้

ค.    สายมหาวิทยาลัยไทย  มหาวิทยาลัยส่งตัวแทนประชุมเพื่อสรรหาและเสนอชื่อ แล้วค่อยไปทาบทาบผู้สมัครให้ได้ครบตามจำนวน  เมื่อได้ครบจำนวนแล้วจึงเรียกประชุมเสนอชื่อและหรือครม.เงา  ส่วนบางคนอาจถอนตัวในขั้นตอนนี้ แล้วมาช่วยหาเสียงในฐานะรัฐมนตรีอนาคตก็ได้  ดังนั้นสายมหาวิทยาลัย อาจเสนอชื่อเพียง 1-2 คน หรือทีมเท่านั้น ซึ่งอาจน้อยกว่าโควต้าที่กำหนดไว้  คือ 2556.1 เสนอได้ 4 ทีม หรือ 2556.2 เสนอได้ 10 รายชื่อ เป็นต้น

3.    นักการเมืองสังกัดพรรคหรือไม่?

ก.    ฝ่ายนิติบัญญัติ  อาจมาจากผู้สมัครอิสระ สังกัดพรรคการเมือง ขณะฝ่ายบริหารอาจมาจากอิสระ หรือสังกัดพรรคใดก็ได้ ดังนั้นพยากรณ์ได้ยากว่าในแต่ละวาระสมัยนั้น ฝ่ายใดครองเสียงข้างมาก ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจเลือกของประชาชนในแต่ละยุค

ข.    การออกแบบระบบ  กรณีเหตุการณ์ตามข้อ 3 ก ยากพยาการณ์ได้ว่าฝ่ายนิติบัญญัติ จะเห็นชอบกับนายกรัฐมนตรีทุกกรณี หรือไม่ เพื่อแก้ปัญหากรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างนายกรัฐมนตรี กับฝ่ายนิติบัญญัติ เช่น หาก พรบ.งบประมาณไม่ผ่านสภาผู้แทน ฯลฯ  จึงต้องมีการออกแบบกลไกให้สองสถาบันการเมืองนี้ ทำงานร่วมกันอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ เช่น เกณฑ์ของจำนวนเสียงขั้นต่ำของมติ  อำนาจของวุฒิสภาในการยับยั้งกฎหมาย และสุดท้ายคือการใช้ประชามติ ในกรณีเกิดความขัดแย้งอันไม่อาจตกลงกันได้ ซึ่งการออกกลไกเหล่านี้ จะได้มีการอภิปราย  หรือเสวนาในทฤษฎีทางรัฐศาสตร์กันต่อไป

การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรง (ตอนที่3)

ผลดีและประโยชน์ของระบบ นายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งโดยตรง

สภาพปัญหา
ระบบรัฐสภา(ปัจจุบัน)
เลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรง
1 การซื้อเสียง

ซื้อเสียงผ่านหัวคะแนนและนักการเมืองท้องถิ่นและอิทธิพลของกำนันผู้ใหญ่บ้าน เกิดการทุจริตถอนทุนและตุนเงินไว้รอซื้อเสียงเลือกตั้งรอบใหม่ เพราะหากชนะเลือกตั้งได้เป็นรัฐบาล มีอำนาจดูแลงบประมาณแผ่นดิน ทำให้การซื้อเสียงคุ้มค่าและกล้าเสี่ยง นอกจากนี้การยกมือในสภาให้ผ่านมติแลกกับเงินก็เป็นการซื้อเสียงอย่างหนึ่ง
ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง การซื้อเสียงให้เป็นนายกฯกระทำได้ยากหรือมิได้เลย ทำให้ไม่จูงใจให้ซื้อเสียง ขณะที่ผู้แทนฝ่ายนิติบัญญัติไม่มีอำนาจในการใช้งบประมาณโดยตรง ทั้งนายกฯอาจเป็นผู้สมัครอิสระ หรือพรรคฝ่ายตรงข้ามกัน ดังนั้นย่อมไม่จูงใจสมาชิกรัฐสภาให้ซื้อเสียงเข้ามา  เพราะเสี่ยงไม่คุ้มทุน  หากการเมืองระดับชาติดี ย่อมบังคับให้ระดับท้องถิ่นต้องดีตามไปด้วย โดยอาจไม่ต้องปรับปรุงระบบในระดับท้องถิ่น
2 การทุจริตของนักการเมือง
การทุจริตมีสาเหตุหนึ่งจากการลงทุนซื้อเสียงแล้วต้องถอนทุน ส่วนอีกสาเหตุนั้นเกิดจากความโลภของฝ่ายบริหาร และยิ่งเป็นรัฐบาลผสม  ทำให้พรรคร่วมรัฐบาลมีอำนาจต่อรองมาก  ทำให้นายกฯไม่อาจควบคุมการทุจริตของพรรคร่วมได้
การมีนายกฯมาจากการเลือกตั้งระดับประเทศ ทำให้เป็นระบบที่ไม่ต้องการหัวคะแนน หรือนักการเมืองท้องถิ่นมาช่วยหาเสียง เพราะเป็นการเมืองระดับชาติ นโยบายระดับชาติ ไม่มีความสัมพันธ์ส่วนตัว  ผู้สมัครนายกฯไม่ลงทุนหาเสียง เพราะรัฐอุดหนุนค่าใช้จ่าย จึงไม่มีเหตุจูงใจให้ทุจริต ทั้งนายกฯแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีโดยเสรี โดยมาจากนักวิชาการอิสระก็ได้ ดังโบราณว่า หัวไม่ส่ายหางไม่กระดิกทำให้การเมืองระดับท้องถิ่นก้าวหน้าตามไปด้วย
3 เสถียรภาพของรัฐบาล

รัฐบาลมีเสถียรภาพน้อย ส่วนใหญ่ไม่อาจครองเสียงข้างมากในสภาได้ ได้รัฐบาลผสม พรรคร่วมรัฐบาลมีอำนาจมากในการต่อรองย้ายข้าง  ทำให้รัฐบาลอ่อนแอ  ไร้ประสิทธิภาพ ควบคุมการทุจริตพรรคร่วมยากเพราะยอม นโยบายขาดความต่อเนื่อง แต่บางสมัยรัฐบาลอาจมีเสถียรภาพมาก พรรคเดียวครองเสียงข้างมากในสภา  พรรคได้รับความนิยมมาก  ทำให้มติพรรคมีอำนาจมากเหนือความถูกต้องชอบธรรม หรือเหนือเอกสิทธิ์การลงมติของผู้แทน ทำให้เกิดพวกมากลากไปได้ง่าย
การแต่งตั้งและให้พ้นตำแหน่งเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรีโดยตรง ไม่มีอำนาจต่อรองของพรรคการเมืองได้  เพราะนายกต้องรับผิดชอบโดยตรงต่อประชาชน ทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพ มิใช่การต่อรองตำแหน่งตามโควต้าของมุ้งในพรรคอย่างระบบรัฐสภา ทำให้ชาติก้าวหน้า เจริญ รุ่งเรืองทัดเทียมอารยะประเทศในที่สุด
4 การทุจริตและซื้อซื้อตำแหน่งของข้าราชการ

ข้าราชการซื้อตำแหน่งจากหน่วยเหนือและนักการเมือง  และทำให้ต้องหาเงินจากสิ่งผิดกฎหมาย  เรียกรับเงินโดยทุจริตในตำแหน่งหน้าที่  ขรก.ระดับล่างหาเงินซื้อตำแหน่งจากหน่วยเหนือ หน่วยเหนือซื้อตำแหน่งจากนักการเมือง หรือยอมเป็นพวกอยู่ใต้อิทธิพลฝ่ายการเมืองแลกกับการโยกย้ายเลื่อนตำแหน่งแต่งตั้ง เป็นวังวนความชั่วร้ายไม่สิ้นสุด
นายกฯมาจากผู้สมัครอิสระ สังกัดพรรค หรือสายมหาวิทยาลัยก็ได้ ความไม่แน่นอนนี้ทำให้ข้าราชการไม่อาจเลือกข้างพรรคใดได้ ทั้งนายกฯมาจากการเลือกตั้งระดับประเทศมาจากสายใดก็ได้ ทำให้ข้าราชการมีความมั่นใจว่าจะไม่ถูกกลั่นแกล้งโยกย้าย ทั้งผู้แทนในสภาไม่มีอำนาจแบบระบบรัฐสภา(ที่อาจเป็นสมาชิกพรรคร่วมรัฐบาล)ทำให้ผู้แทนไม่มีบทบาทต่อข้าราชการโดยตรง ย่อมไม่เกิดการล้วงลูกให้วุ่นวาย
5.ปัญหาการบริหารราชการแผ่นดิน
ระบบปัจจุบันมีองค์กรอิสระจำนวนมาก และไม่มีเกณฑ์การรับคำร้องที่ดีพอ ทำให้ตกเป็นเครื่องมือทางการเมือง ร้องขอให้ตีความหยุมหยิม  เฟ้อ และเลยเถิด ทำให้บริราชการแผ่นดินล่าช้า ไร้ประสิทธิภาพ ไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์
เพื่อให้นายกฯที่เป็นตัวแทนของมหาประชาชนได้ทำงานในตำแหน่งอย่างราบรื่น
อาจต้องยุบเลิกองค์กรอิสระที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง เช่น ศาลปกครอง ศาลรธน. ปปช. กสม. ผู้ตรวจการแผ่นดิน แล้วให้สนง.คณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการรัฐธรรมนูญ อัยการสูงสุด และมูลนิธิเอกชนทำหน้าที่แทนกสม.ตามลำดับ เว้นแต่องค์กรอิสระปัจจุบัน ถูกเปลี่ยนแปลงที่มาของกรรมการ และมีเกณฑ์การรับคำร้องที่ดี  จึงอาจให้มีองค์กรอิสระไว้ต่อไปได้
6.ความต่อเนื่องของนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจสังคม
เนื่องจากรัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ มีอายุสั้น ต้องยุบสภา และลาออกบ่อย  เมื่อได้รัฐบาลใหม่  มีนโยบายอันใหม่มาแทนที่รัฐบาลเก่า ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของชาติสะดุด และไม่ต่อเนื่อง  ผลที่ได้คือ ทำให้ประเทศไทยล้าหลังกว่าประเทศเพื่อนบ้านมาก
นายกรัฐมนตรีมีโอกาสอยู่ในตำแหน่งครบวาระคือ 5-6 ปี ทำให้การผลักดันนโยบาย แผนงาน โครงการเป็นไปอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง ทั้งผู้แทนฝ่ายนิติบัญญัติก็ไม่มีหน้าที่โดยตรงในฝ่ายบริหาร จึงไม่อาจก้าวก่ายการทำงานได้ ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมมีรูปธรรมที่ชัดเจน เป็นสังคมที่ฝ่ายบริหารทำงานด้วยสติปัญญาและเหตุผลกว่าระบบปัจจุบันมาก
7.ปัญหาการถ่ายทอดสดการประชุมสภา
ปัจจุบันมีการถ่ายทอดสดประชุมสภา โดยเฉพาะญัตติไม่ไว้วางใจ มีการประท้วง วาจาหยาบคาย กิริยาคุกคาม ขว้างปาสิ่งของ เล่นเกมการเมืองจนเลยเถิด ทำให้ประชาชนเบื่อและเสื่อมศรัทธาในระบอบประชาธิปไตย เพราะนักการเมืองจ้องคอยแต่ทำลายฝ่ายตรงข้ามทุกรูปแบบ ใช้แต่สำนวนโวหาร เสียดสีฝ่ายตรงข้าม มากกว่าการอภิปรายเนื้อหาสาระแบบทางวิชาการที่ประชาชนฟังแล้วได้ความรู้
การถ่ายทอดสดประชุมทั่วไปของสภา เป็นการอภิปรายปัญหาเศรษฐกิจและสังคม มีเนื้อหาและบรรยากาศแบบทางวิชาการ ทำให้ประชาชนสนใจอยากติดตาม ได้สาระความรู้  และตอบคำถามแบบสาระความรู้  เพราะไม่ใช่การอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯ การถ่ายทอดสดทำให้ประชาชนศรัทธาระบอบการปกครองและมีความหวงแหนอยากปกป้องรักษา เกิดการเรียนรู้ทางการเมือง เป็นการปิดทางมิให้เรียกหาอำนาจนอกระบบบอีกต่อไป
8.พลังเงียบ
กลุ่มจัดตั้งมีพลังอำนาจและเสียงดังกว่าพลังเงียบที่มีจำนวนมาก เพราะระบบรัฐสภาบังคับให้สังกัดพรรค ทำให้ตัดสิทธิผู้สมัครอิสระ
พลังเงียบมีบทบาทมากขึ้น ทั้งการสมัครรับเลือกตั้งนายกและสมาชิกรัฐสภา เพราะไม่บังคับให้ผู้สมัครสังกัดพรรค และการที่ประชาชนเสนอชื่อผู้สมัครอิสระได้เอง ช่วยผู้สมัครหาเสียง หรือให้เงินบริจาค  ทำให้พลังเงียบกลายเป็นยักษ์ที่ถูกปลุกให้ตื่น
9.ปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย
ระบบปัจจุบัน ทำให้นักการเมือง รัฐบาล หัวคะแนน นักการเมืองท้องถิ่น ข้าราชการ การทุจริตและสิ่งผิดกฎหมายมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด  เพราะข้าราชการเกรงกลัวอำนาจอิทธิพลฝ่ายการเมือง ขณะฝ่ายการเมืองพึ่งพาหัวคะแนนและนักการเมืองท้องถิ่นในการหาเสียง ทำให้ธุรกิจผิดกฎหมายของหัวคะแนนทั้งหลายดำรงอยู่ได้ โดยข้าราชการไม่กล้าแตะต้อง แถมคอยคุ้มครองดูแล  ทำให้กฎหมายไม่มีสภาพบังคับกับสมาชิกของเครือข่ายทางการเมือง ทำให้เกิดสภาพบ้านเมืองไม่มีขื่อแปในที่สุด

นายกรัฐมนตรีอาจมาจากช่องทางใดใน 3 สาย อันยากพยากรณ์ทำให้การจับขั้วทางการเมืองมีพลวัตรที่ไม่แน่นอน ยากแก่การผูกขาด ทั้งการหาเสียงเลือกตั้งมีเงินอุดหนุนทำให้ไม่ต้องพึ่งพาผู้แทน นักการเมืองท้องถิ่นและหัวคะแนน  ทำให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปได้จริง เพราะไม่ต้องเกรงใจผู้แทน หรือหัวคะแนน ขณะเดียวกันรัฐมนตรีร่วมครม.นายกเสนอแต่งตั้งได้โดยอิสระมากกว่าโควต้าการต่อรองของพรรคร่วมรัฐบาลในระบบรัฐสภา  ทำให้นายกมีอำนาจต่อรองสูงคนร่วมครม.ได้สูง  มีอำนาจและอิสระมากขึ้นในการบังคับใช้กฎหมายเมื่อเปรียบเทียบกับระบบรัฐสภาของไทย

06 ธันวาคม 2556

การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรง (ตอนที่2)



ตามที่ได้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรงในปัจจุบัน  โดยประเด็นที่เป็นแกนกลางของปัญหาคือ ข้อกล่าวหาเรื่องการทุจริต การละเมิดหลักนิติรัฐนิติธรรม การครอบงำผูกขาดทางการเมือง การซื้อเสียงเลือกตั้ง  การซื้อขายตำแหน่งราชการ กฎหมายมีสภาพบังคับน้อย  ทำให้เศรษฐกิจและสังคมของชาติได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง  ขณะเดียวกันมีการเสนอทางออกให้มีการจัดตั้งสภาประชาชน  และนายกพระราชทานตามมาตร 7 แห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งทั้งสองประการนี้ยังไม่เป็นที่ยุติว่าจะแก้ไขปัญหาของชาติได้แต่ประการใด  เพราะยังมีความคิดเห็นแตกต่างกันเป็นอย่างมาก

เพื่อเป็นการออกไปจากวังวนแห่งปัญหานี้ จึงขอเสนอความคิดเห็นทางรัฐศาสตร์เรื่อง การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรง ที่วางอยู่บนรากฐานอันมั่นคงของหลักการระบอบประชาธิปไตย คือ

๑.    อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน  และประชาชนเป็นองค์อธิปัตย์ผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญตามทฤษฎีสัญญาประชาคม
๒.    คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามหลักนิติรัฐนิติธรรม และรัฐต้องดำรงอยู่อย่างมั่นคงปลอดภัย
๓.    มีการเลือกตั้งผู้แทนทางตรงและหรือทางอ้อม
๔.    ปกป้องเสียงข้างมากและคุ้มครองเสียงข้างน้อย
๕.    ตรากฎหมายตามหลักนิติรัฐนิติธรรม โดยฝ่ายนิติบัญญัติที่มาจากตัวแทนของปวงชนชาวไทย
๖.    อำนาจรัฐต้องถูกตรวจสอบถ่วงดุลโดยสถาบันทั้งสาม คือ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ
๗.    การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรง เช่น ประชามติ เสนอร่างกฎหมาย เสนอแก้รัฐธรรมนูญ เสนอถอดถอน ฯลฯ

เพื่อให้รัฐบาลมีเสถียรภาพและเข้มแข็ง พลังเงียบมีที่ยืน คนดีมีฝีมือกล้าอาสารับใช้บ้านเมือง ให้ปัญญาและเหตุผลนำสังคมประเทศชาติ รัฐบาลนำนโยบายแผนงานโครงการไปปฏิบัติอย่างจริงจังต่อเนื่อง ประเทศชาติพัฒนาก้าวหน้า ประชาชนมั่งคั่งเป็นสุข ประเทศชาติมั่นคงปลอดภัย ประชาชนเลือกผู้นำของตนเองตามวาระ ป้องกันการใช้เิงินหว่านซื้อเสียง ลดอิทธิพลของหัวคะแนน นักการเมืองท้องถิ่นและนักการเมืองระดับชาติ ข้าราชการไม่ตกอยู่ใต้อาณัติอิทธิพลของนักการเมือง การทุจริตโกงกินจางหายไป

จึงขอเสนอตัวแบบของระบบการปกครองไทย โดยนายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรง ดังนี้



คำอธิบายเพิ่มเติม

แบบที่ 1  ประชาธิปไตย 2556.1

ลำดับที่ 28 ระบบการเลือกตั้ง

1.    ระบบการเลือกตั้ง
•    เลือกตั้งนายกรัฐมนตรี(พร้อมคณะรัฐมนตรี10คน) โดยให้เลือกตั้ง 3 รอบ แบ่งเป็น 3 สาย คือ  ผู้สมัครอิสระ ผู้สมัครสังกัดพรรค และผู้สมัครที่สรรหาโดยมหาวิทยาลัย  ในการแข่งขันแต่ละรอบเป็นการแข่งขันของแต่ละทีมในสายเดียวกัน กระทั่งรอบที่ 3  เหลือผู้สมัคร 2 สายๆละ1 ทีม ให้ประชาชนเลือก 1 ทีม
•    การแบ่งสายเลือกตั้งออกเป็น 3 สาย  เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่มิได้เป็นสมาชิกพรรคการเมือง  เป็นกลางทางการเมือง  และพลังเงียบ ได้มีโอกาสรับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี  เพื่อสร้างความเป็นธรรม ความเสมอภาค และความสามารถแข่งขันกับพรรคการเมืองได้  ขณะที่การเปิดให้มีสายมหาวิทยาลัยเพื่อให้ ผู้ทรงปัญญาความรู้ของชาติ ได้มีบทบาทในการสร้าอนาคตของประเทศชาติ
•    ก่อนเลือกตั้งรอบที่ 1 ให้มีการไพรมารี่(primary)เพื่อกลั่นกรองผู้สมัครที่อาจมีจำนวนมากให้เหลือจำนวนตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยให้ผู้สมัครแต่ละทีมนำเสนอนโยบาย  แล้ววัดคะแนนความนิยมให้เหลือผู้สมัครรับเลือกตั้งสายละ 4 ทีม โดยการสำรวจคะแนนความนิยมอาจทำได้โดยการสุ่ม หรือโดยวิธีการอื่นใด ที่สุจริตเที่ยงธรรม หรือ
•    ตั้งเกณฑ์ให้ผู้สมัครอิสระที่ได้คะแนนนิยมเกินลำดับที่10  จะถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 6 ปี  ยกเว้นมีผู้สมัครรับเลือกตั้งแต่ละสายไม่ครบ 4 ทีม ไม่ต้องจัดให้มีไพรมารี่ก็ได้  หรือ
•    ผู้สมัครอิสระแต่ละทีม ต้องมีรายชื่อผู้สนับสนุน 100, 000 คน และต้องมาจากรายภาคละเท่ากันคือ ภาคละ 20,000 คน  และให้เรียกเก็บค่าสมัครรับเลือกตั้งคนละ 100, 000 บาท
•    มาตรการทั้ง 3 ข้อดังกล่าว  เป็นไปเพื่อกลั่นกรองและป้องกันมิให้มีจำนวนผู้สมัครรับเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีมีมากเกินไป กระทั่งทำให้ยากลำบากในการจดจำหมายเลขและการออกแบบบัตรเลือกตั้ง ทั้งนี้การเพิ่มเกณฑ์ให้สูงขึ้นจะไปกลั่นกรองให้เหลือผู้สมัครรับเลือกตั้งมีจำนวนลดลง แล้วจึงมีสิทธิเข้าสู่รอบการแข่งขัน
•    ในรอบที่ 1  ผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้ง 3 สาย  ประกาศนโยบายและหาเสียง แล้วให้ประชาชนมีสิทธิลงคะแนนเลือกได้ไม่เกิน 3  คน(ทีม) ให้ผู้ได้คะแนนสูงสุด 2 คน(ทีม)แรกของแต่ละสาย  เข้ารอบต่อไป
•    ในรอบที่ 2 มีผู้สมัครรับเลือกตั้งเหลือสายละ 2 คน(ทีม) ประกาศนโยบายและหาเสียง(และเพิ่มเติม)ให้ประชาชนมีสิทธิลงคะแนนเลือกได้ไม่เกิน 2 คน(ทีม)  แล้วให้ผู้ได้คะแนนลำดับสูงสุดของ 2 สายแรก เข้ารอบต่อไป
•    ในรอบที่ 3(รอบสุดท้าย) เหลือผู้สมัครรับเลือกตั้งเพียง 2 คน(ทีม)  ให้ประชาชนเลือก 1  คน(ทีม) เพื่อให้ได้นายกรัฐมนตรีที่ได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
•    นายกรัฐมนตรีรักษาการเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
•    ระยะเวลานับตั้งแต่ไพรมารี่กระทั่งสิ้นสุดการเลือกตั้งใช้เวลาไม่เกิน  6 เดือน
•    นโยบายหาเสียง  ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งประกาศนโยบายและหาเสียง  โดยรัฐอุดหนุนค่าใช้จ่ายนับตั้งแต่รอบแรกอย่างเพียงพอ  ผ่านทีวี  วิทยุ  หนังสือพิมพ์  อินเตอร์เน็ต  และป้ายหาเสียงตามจุดที่กำหนดไว้เท่านั้น

2.    คณะรัฐมนตรี
•    นากยกรัฐมนตรีแต่งตั้งรองนายกและรัฐมนตรี โดยอาจแต่งตั้งคู่แข่งทางการเมืองจากผู้สมัครรับเลือกตั้ง ที่ตกรอบเป็นต้นไป หรือบุคคลภายนอกก็ได้
•    ในกรณีแต่งตั้งรองนายก หรือรัฐมนตรีจากบุคคลภายนอก ต้องได้รับการรับรองคุณสมบัติจากวุฒิสภาเสียก่อน
•    ในกรณีเกิดความขัดแย้งในการตรากฎหมาย  พรบ.งบประมาณ หนังสือสำคัญระหว่างประเทศ  และกรณีอื่นใดที่มิได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญระหว่างนายกรัฐมนตรี  หรือคณะรัฐมนตรี  กับสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภา ให้กกต. จัดทำประชามติ โดยคำแนะนำของกรรมการรัฐธรรมนูญ  เพื่อยุติปัญหาความขัดแย้งนั้น(เป็นหัวข้อใหญ่ที่ต้องผ่านการอภิปรายทางวิชาการรัฐศาสตร์อย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้ข้อยุติ)

แบบที่ 2  ประชาธิปไตย 2556.2

ลำดับที่ 28 ระบบการเลือกตั้ง

1.    ระบบการเลือกตั้ง
•    เลือกตั้งนายกรัฐมนตรี  โดยให้เลือกตั้ง 3 รอบ แบ่งเป็น 3 สาย คือ  ผู้สมัครอิสระ ผู้สมัครสังกัดพรรค และผู้สมัครที่สรรหาโดยมหาวิทยาลัย การแข่งขันในแต่ละรอบเป็นการแข่งขันในสาย  แล้วในรอบที่ 3  เหลือผู้สมัครเพียง 2 สายๆละ1 คน ให้ประชาชนเลือก
•    การแบ่งสายเลือกตั้งออกเป็น 3 สาย เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่มิได้เป็นสมาชิกพรรคการเมือง  เป็นกลางทางการเมือง  และพลังเงียบ ได้มีโอกาสรับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี  เพื่อสร้างความเป็นธรรม ความเสมอภาค และความสามารถแข่งขันกับพรรคการเมืองได้  ขณะที่การเปิดให้มีสายมหาวิทยาลัยเพื่อให้ ผู้ทรงปัญญาความรู้ของชาติ ได้มีบทบาทในการสร้าอนาคตของประเทศชาติ

•    ก่อนเลือกตั้งรอบที่ 1
(1)ให้มีการไพรมารี่(primary)เพื่อกลั่นกรองผู้สมัครที่อาจมีจำนวนมากให้เหลือจำนวนตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยให้ผู้สมัครแต่ละทีมนำเสนอนโยบาย  แล้ววัดคะแนนความนิยมให้เหลือผู้สมัครรับเลือกตั้งสายละ 10 คน โดยการสำรวจคะแนนความนิยมอาจทำได้โดยการสุ่ม หรือโดยวิธีการอื่นใด ที่สุจริตเที่ยงธรรม หรือ
(2)ตั้งเกณฑ์ให้ผู้สมัครอิสระที่ได้คะแนนนิยมเกินลำดับที่ 10 จะถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 6 ปี  ยกเว้นมีผู้สมัครรับเลือกตั้งแต่ละสายไม่ครบ 10 คน ไม่ต้องจัดให้มีไพรมารี่ก็ได้  หรือ
(3)ผู้สมัครอิสระแต่ละคน  ต้องมีรายชื่อผู้สนับสนุน 100, 000 คน และต้องมาจากรายภาคละเท่ากันคือ ภาคละ 20,000 คน  และให้เรียกเก็บค่าสมัครรับเลือกตั้งคนละ 100, 000 บาท
•    มาตรการทั้ง 3 ข้อดังกล่าว  เป็นไปเพื่อกลั่นกรองและป้องกันมิให้มีจำนวนผู้สมัครรับเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีมีมากเกินไป กระทั่งทำให้ยากลำบากในการจดจำหมายเลขและการออกแบบบัตรเลือกตั้ง ทั้งนี้การเพิ่มเกณฑ์ให้สูงขึ้นจะไปกลั่นกรองให้เหลือผู้สมัครรับเลือกตั้งมีจำนวนลดลง แล้วจึงมีสิทธิเข้าสู่รอบการแข่งขัน

•    ในรอบที่ 1  ผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้ง 3 สาย คือ 30 คน ประกาศนโยบายและหาเสียง แล้วให้ประชาชนมีสิทธิลงคะแนนเลือกได้ไม่เกิน  5  คน  ให้ผู้ได้คะแนนสูงสุด 5 คนแรกของแต่ละสาย  เข้ารอบต่อไป
•    ในรอบที่ 2  มีผู้สมัครรับเลือกตั้งเหลือสายละ 5 คน ให้ประกาศนโยบายและหาเสียง(และเพิ่มเติม)ให้ประชาชนมีสิทธิลงคะแนนเลือกได้  3 คน แล้วให้ผู้ได้คะแนนสูงสุด 2 สายแรก เข้ารอบสายละ 1 คนต่อไป
•    ในรอบที่ 3(รอบสุดท้าย) เหลือผู้สมัครรับเลือกตั้งเพียง 2 มาจาก  2 สาย  ให้ประชาชนเลือก 1  คน เพื่อให้ได้นายกรัฐมนตรีที่ได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
•    นายกรัฐมนตรีรักษาการเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
•    ระยะเวลานับตั้งแต่ไพรมารี่กระทั่งสิ้นสุดการเลือกตั้งใช้เวลาไม่เกิน  6 เดือน
•    นโยบายหาเสียง  ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งประกาศนโยบายและหาเสียง  โดยรัฐอุดหนุนค่าใช้จ่ายนับตั้งแต่รอบแรกอย่างเพียงพอ  ผ่านทีวี  วิทยุ  หนังสือพิมพ์  อินเตอร์เน็ต  และป้ายหาเสียงตามจุดที่กำหนดไว้เท่านั้น

2.    คณะรัฐมนตรี
•    นากยกรัฐมนตรีแต่งตั้งรองนายกและรัฐมนตรี โดยอาจแต่งตั้งคู่แข่งทางการเมืองจากผู้สมัครรับเลือกตั้ง ที่ตกรอบเป็นต้นไป หรือบุคคลภายนอกก็ได้
•    ในกรณีแต่งตั้งรองนายก หรือรัฐมนตรีจากบุคคลภายนอก ต้องได้รับการรับรองคุณสมบัติจากวุฒิสภาเสียก่อน
•    ในกรณีเกิดความขัดแย้งในการตรากฎหมาย  พรบ.งบประมาณ หนังสือสำคัญระหว่างประเทศ  และกรณีอื่นใดที่มิได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญระหว่างนายกรัฐมนตรี  หรือคณะรัฐมนตรี  กับสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภา ให้กกต. จัดทำประชามติ โดยคำแนะนำของกรรมการรัฐธรรมนูญ  เพื่อยุติปัญหาความขัดแย้งนั้น(เป็นหัวข้อใหญ่ที่ต้องผ่านการอภิปรายทางวิชาการรัฐศาสตร์อย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้ข้อยุติ)








การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรง

การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรง

เพื่อให้รัฐบาลมีเสถียรรภาพและเข้มแข็ง พลังเงียบมีที่ยืน คนดีมีฝีมือกล้าอาสารับใช้บ้านเมือง ให้ปัญญาและเหตุผลนำสังคมประเทศชาติ รัฐบาลนำนโยบายแผนงานโครงการไปปฏิบัติอย่างจริงจังต่อเนื่อง ประเทศชาติพัฒนาก้าวหน้า ประชาชนมั่งคั่งเป็นสุข ประเทศชาติมั่นคงปลอดภัย ประชาชนเลือกผู้นำของตนเองตามวาระ ป้องกันการใช้เิงินหว่านซื้อเสียง ลดอิทธิพลของหัวคะแนน นักการเมืองท้องถิ่นและนักการเมืองระดับชาติ ข้าราชการไม่ตกอยู่ใต้อาณัติอิทธิพลของนักการเมือง การทุจริตโกงกินจางหายไป

จึงขอเสนอตัวแบบของระบบการปกครองไทย โดยนายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรง ดังนี้



คำอธิบายประกอบ (กำลังจัดทำ)