25 มีนาคม 2567

Dark flow : Evidence of other universes Dark flow

Flow is the mysterious motion.

It could be something massive lying, outside the edge of the visible universe, tugging clusters of galaxies with its gravity.

In 2008, Dr.Alexander Kashlinsky is an astronomer and cosmologist, working at NASA.

He and his collaborators, discovered a phenomenon called “dark flow.”

The dark flow found evidence a flow clusters of galaxies, toward between the Centaurus and Hydra constellations.

Later, a team of astronomers lead by Alexander Kashlinsky, found evidence of a flow of clusters, toward between the constellations of Centaurus and Vela.

"We can only say with certainty that somewhere very far away the world is very different from what we see locally. Whether it is another universe, or a different fabric of space-time we don't know." Kashlinsky said

It something exists beyond the edge of the observable universe.

The cosmos is a symmetry

The cosmos create equal amounts of matter and antimatter. 

There are fundamental symmetries in cosmos.

1.The laws of nature equal to matter and antimatter.

2.The laws of physics generate symmetries.

3.The cosmos obeys CP symmetry.

The cube of cosmos


All the laws of physics took birth in symmetries. Physics has identified, a set of fundamental symmetries in cosmos.

The symmetry of cosmos is a universe–antiuniverse pair.

1.The front left bottom corner is a matter univese.

2.The front rigth bottom corner is an anti-universe.

3 The front left top corner is an  anti-universe.

4.The front right top coner is a matter universe.

This is electromagnetic wave, E×B=v or clockwise calls a matter universe and E×B=v anticlockwise calls an antimatter universe.

The cube of cosmos transform to a pair of matter universes and a pair of  antimatter universes.


The Centaurus is located 11h5m-15h3m.

The Vela is located 9h22m.

The Hydra is located 8h10m–15h02m. 

Two green lines between the Centaurus and Hydra constellations and between the constellations of Centaurus and Vela.

The antimatter universe attracts a matter universe or our universe.

https://youtu.be/eQbCfL_uvQ4?si=O1UGmEAJgVUKrAS2



01 กุมภาพันธ์ 2565

Wallop's periodic table

 ธาตุจัดเรียงตาม s, p, d, and f จะมีธาตุเพียง 120 ธาตุเท่านั้น

และธาตุจะไม่มีชั้น g(18) เพราะขัดกับกฎของ 8 และกฎ 1.3.8


29 มกราคม 2565

Beta decay

 Beta decay


หาก"จำลอง" การสปิน(spin) ของ electron และ positron ใน beta decay ให้ดำเนินไปตามไดอะแกรม(ตามรูป) จะได้ว่า


1.negative beta decay (W-)

คือ neutron > สู่ proton

d จะปลดปล่อย electron  ตาม d(-⅓) คือ ประจุลบ


นั่นคือ d(-⅓) จะต้องปลดปล่อย  W- 


จะได้ว่า

 

d-(-w-)= -1/3 - (-3/3)

= +2/3 หรือ u

คือ จาก d กลายมาเป็น  u โดยการปลดปล่อย W- และ W- ก็ปลดปล่อย electron(-3/3=-1) ซึ่งสปินซ้าย


และ Antineutrino(เส้ประสีน้ำเงิน) จะต้องสปินขวา เพื่อเติมเต็ม d(-⅓) ไปสู่ u(+⅔) 


จากการทดลอง

พบว่า electron และ neutrino สปิน(spin)ซ้าย ส่วน positron และ antineutrino สปินขวาเสมอ


ซึ่งพ้องต้องกันกับไดอะแกรมนี้ 


การสปินซ้ายของ lepton และ antilepton สปินขวา มีเหตุผลประกอบ 2 ข้อ


1.เติมเต็ม (complementary) คือ netrino/antineutrino จะดำเนินการให้ครบส่วนของทั้งหมดของวงกลม (คือเส้นประสีน้ำเงินในกรณีของ negative beta decay

และเส้นประสีม่วงในกรณีของ positive beta decay)

2.เป็นกุญแจถอดรหัส  ซึ่ง neutrino/antineutrino จะตรงหมุนทิศทางตรงข้ามกับ lepton/antilepton ที่ปลดปล่อยออกมา คล้ายใบพัดลมที่หมุนขวา ซึ่งต้องมีน็อตหมุนซ้ายเสมอ เพื่อล็อคไว้มิให้ใบพัดหลุดออกมา

ดังนั้น neutrino/antineutrino อุปมาคล้ายกุญแจหรือน็อตที่ประกบคู่กับ positron/electron ซึ่ง neutrino จะมีปฏิกิริยากับแรงนิวเคลียร์อ่อนเท่านั้น มันจึงเป็นกุญแจดอกสำคัญใน beta decay


ใน Positive beta decay ก็ทำนองเดียวกัน

คือจาก proton > neutron

แล้ว u จะปลดปล่อย positron ตาม u(+⅔) คือ ประจุบวก

นั่นคือ u(+⅔)  จะต้องปลดปล่อย W+


ส่วน neutrino(เส้นประสีม่วง) จะเติมเต็ม u(+⅔) ไปสู่ d(-⅓)


ส่วนในจักรวาลปฏิสสาร(the Antimatter universe)

จะดำเนินในทิศทางตรงข้ามกัน


คือ electron สปินขวา และ neutrino สปินขวา

ส่วน positron และ antineutrino สปินซ้าย


คือ กฎแห่งเอกภพ(The Cosmic Law)


ดังนั้นในจักรวาลสสาร(the matter universe) กระบวนการของ Beta dacay

จะมีแต่ electron และ neutrino สปินซ้ายเท่านั้น.


30 กันยายน 2564

The Pyramids Decoded

The pyramids decoded : Transformations of a unit circle

a=πh/2

where a= base length, and h=height

a=L=απh/180

where L=arc length, α is in degree

https://youtu.be/qvcve_tj8Xk

03 กุมภาพันธ์ 2558

กฎจักรวาลแห่ง8 และ24 กับแรงทั้ง4 และพีระมิด

• บทนำ หมู่พีระมิดแห่งกีซา(The Three Giza Pyramids) ประเทศอียิปต์ ซึ่งมีทั้งหมดจำนวนสามองค์ ประกอบด้วย Khufu, Khafre, และ Menkaure จัดเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณที่ได้รับความสนใจจากมนุษย์ตลอดมา เป็นสถาปัตยกรรมที่มีคนหลงใหลถอดรหัสมากที่สุดอย่างหนึ่งของโลก นับแต่ยุคเซอร์นิวตัน(Sir Isaac Newton)ที่เชื่อว่าสถาปัตยกรรมของหมู่พีระมิดมีความเกี่ยวพันกับ “พลังอำนาจอันมหาศาล” และ “จำนวนตัวเลขลึกลับ ตราบถึงผลงานการถอดรหัสอันโด่งดังของ Graham Hancockในหนังสือ The Fingerprints of the Gods : The Evidence of Earth’s Lost Civilization ซึ่งเขาเสนอทฤษฎีใหม่ว่าหมู่พีระมิดมีอายุมากกว่า 12,500 ปี ทำให้การศึกษาพีระมิดแบบกระแสทางเลือก กลายเป็นหัวข้อที่ได้รับความสนใจในวงกว้าง กล่าวสำหรับนัยความหมาย ที่คาดว่าเกี่ยวข้องหรือซุกซ่อนอยู่ในหมู่พีระมิดได้แก่สิ่งต่อไปนี้ จำนวนตัวเลขลึกลับของโทธ(Numbers of Thoth) อัตราส่วนทองคำ(Golden ratio) Fibonacci numbers แสง ค่าไพ(pi) วงกลม หน่วยวัด แสงที่อยู่ตรงกลาง(fire in the middle) หน่วยวัดสัมพันธ์กับแสง monument of light และ photon at rest เป็นต้น จะเห็นได้ว่าความหมายของพีระมิด วนเวียนอยู่กับ “จำนวน ค่าไพ แสง การวัด ตัวกลาง และวงกลม” นั่นเอง ทว่าธรรมดาของการเข้ารหัสต้องมีการ “เปิดเผยและปกปิด”ไว้ในคราวเดียวกัน เพื่อป้องกันมิให้เข้าใจได้โดยง่าย ขณะเดียวกันเปิดโอกาสให้ใครสักคนสามารถสังเกตเห็นและถอดรหัสได้เช่นกัน และหากเราพิจารณาพีระมิดส่วนที่เปิดเผยและเห็นชัดที่สุดคือโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมอันได้แก่ความสูง และจำนวนด้าน(หรือขอบเหลี่ยมที่เป็นเส้นตรง)ของพีระมิด พบว่าพีระมิดประกอบจากรูป 3เหลี่ยมจำนวน 4 รูปหรือ 4 ด้าน โดยประกอบจากเส้นตรงจำนวน 8 เส้น คือที่ฐาน 4 เส้น และสูงเอียงอีก 4 เส้น รวมมีเส้นตรงจำนวน 8 เส้น ขณะเดียวกันหมู่พีระมิดแห่งกีซามีจำนวน 3 องค์ ราวกับมีเจตนาเพิ่มเติมนัยความหมายสำคัญบางประการ ดังนั้นจากสิ่งที่เปิดเผยอย่างชัดแจ้งและแบบต้องตีความกล่าวได้ว่าหมู่พีระมิดต้องการเข้ารหัส 8 และ 24(อันเกิดจากพีระมิดสามองค์ หรือ 3*8) ที่น่าประหลาดใจคือ แนวคิดของการตีความว่าสถาปัตยกรรมของพีระมิดซุกซ่อนค่า pi เอาไว้ผ่านความสัมพันธ์ ความยาวฐาน = ความสูง*pi/2นั้น พบว่าอักษรกรีก pi อยู่ลำดับที่ 16(หรือสองเท่าของแปด ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องบังเอิญที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ยากจะบังเอิญ แล้วอะไรคือ นัยความหมายและความสำคัญของ 8 และ 24 ที่ผู้สร้างหมู่พีระมิดต้องการเข้ารหัสเอาไว้อย่างนั้นหรือ? 1. ความสำคัญของ 8 เลข 8 มักปรากฏผ่านสายตาเราอยู่เสมอและมักมีการตีความแตกต่างกันตามอารยธรรม กล่าวคือ เลข 8 ในทางอารยธรรมของวัฒนธรรมจีน เห็นว่าเลข 8 เป็นเลขมงคล เกี่ยวข้องกับเซียน ความสำเร็จและเป็นเลขนำโชค อารยธรรมตะวันตกมักมองว่าเลข 8 เป็นตัวแทนของความไม่สิ้นสุด เพราะตัวเลขพ้องกับเครื่องหมายแห่งความไม่สิ้นสุดหรือ infinity นั่นเอง ขณะที่โหราศาสตร์ไทยและอินเดียและบางสำนักมองว่าเลข 8 เป็นตัวแทนของดาวราหูคือ ความลึกลับ มัวเมา มืดมัว ความไม่รู้ และสิ่งอัปมงคล เป็นต้น กล่าวในทางฟิสิกส์และเคมี เลข 8 เป็นตัวเลขที่มีความสำคัญมาก เพราะเป็นกฎเกณฑ์สำคัญที่เรียกว่า octet rule หรือกฎแห่ง 8 ในวิชาเคมีของธาตุ 8 หมู่ ขณะเดียวกันฟิสิกส์อนุภาค จะกล่าวถึงกลูออนส์ 8สี หรือ eight of gluons หรือ color octet ในควากส์(quarks) 2. เหตุใดต้องเป็นกฎแห่ง 8 ทำไมต้องเป็นกฎแห่ง 8 แล้วเหตุใดไม่เป็นกฎแห่ง 5, 6, 7 หรือ 9 เป็นคำถามที่แสนง่าย แต่คงไม่มีใครตอบคำถามนี้ได้ เพราะเป็นเรื่องลึกซึ้งซับซ้อนมาก กรณีเคมี ได้แบ่งธาตุออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือกลุ่ม A และ B กลุ่ม A มี 8 หมู่ คือ 1A 2A 3A 4A 5A 6A 7A 8A ส่วนกลุ่ม B มี 8 หมู่เช่นเดียวกัน คือ 1B 2B 3B 4B 5B 6B 7B 8B 8B 8B จะเห็นได้ว่าธรรมชาติได้ “เผย”รูปแบบของกฎเกณฑ์ความสัมพันธ์ทางกายภาพที่สัมพันธ์กับ 8 ออกมาบางส่วน หรือแม้กระทั่งการจัดเรียงตัวของอิเลคตรอนในแต่ละชั้น แต่ละธาตุจะพยามยามจัดให้ครบ 2 และ 8 อย่างมีนัยสำคัญ เช่น Na = 2 , 8 , 1 หรือ Mg = 2 , 8 , 2 หรือ K = 2 , 8 , 8 , 1 เป็นต้น ขณะเดียวกันกฎแห่ง 8 อาจเป็นกฎที่ใช้กับปรากฏการณ์ระดับย่อยลงไปได้อีก นั่นเพราะว่า 8 เกิดจาก 2.2.2 หรือ 2^3 กล่าวคือ 8 ประกอบจาก 2 จำนวน 3 ตัว เช่น การจัดเรียงตัวตามตัวอย่างของ K = 2 , 8 , 8 , 1 จะเห็นได้ว่าอิเลคตรอนชั้นในสุด จะพยายามมีจำนวน 2 ตัว ซึ่ง 2 เป็นองค์ประกอบหนึ่งของ 8 เป็นต้น และอย่างที่ทราบกันดีในฟิสิกส์อนุภาคว่า จักรวาลนี้มีแรง 4 ชนิด คือ แรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงนิวเคลียร์อ่อน แรงนิวเคลียร์แข็ง และแรงโน้มถ่วง ผลรวมของแรงทั้ง 4 พยากรณ์ได้ว่าอาจปรากฏออกมาในรูปของ 8 และหรือ 24 หรือ จำนวนเท่าของ 8 ก็ได้เช่นกัน 3. 8 กับการตีความสถาปัตยกรรมพีระมิด พีระมิดแต่ละองค์ประกอบด้วยเส้นตรงจำนวน 8 เส้น หมู่พีระมิดมี 3 องค์ รวมแล้วมีเส้นตรงจำนวน 3*8 เท่ากับ 24 เส้น ตัวเลข 24 คือ เจตนาการสร้างหมู่พีระมิดอย่างนั้นหรือ? เลข 24 มีความสัมพันธ์อย่างไรต่อสัดส่วนของแรงทั้ง 4 ในจักรวาลอย่างนั้นหรือ? ก่อนอื่นลองย้อนกลับไปดูสถาปัตยกรรมโครงสร้างของพีระมิด ซึ่งมีจำนวน 4 ด้าน อาจตีความเจตนาการสร้างให้สัมพันธ์กับแรงทั้งสี่และอื่นๆได้ ดังนี้ a. หากให้แต่ละด้านของพีระมิดเป็นตัวแทนของแรงทั้ง 4 ในจักรวาล คือ แรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงนิวเคลียร์อ่อน แรงนิวเคลียร์แข็ง และแรงโน้มถ่วง เราจะพบว่า “ยอด”พีระมิด คือผลรวมของแรงทั้ง 4 และการรวมแรงทั้ง 4 นี้เข้าไว้ด้วยกัน กระทำอยู่บนสัดส่วนของ 8 คือ จำนวนเส้นตรงทั้ง 8 เส้น และหมู่พีระมิดมี 3 องค์ รวมจำนวนเส้นตรง 24 ดั้งนั้นแปลความได้ว่า แรงทั้ง 4 สัมพันธ์กับ 8 และ 24 ในทางใดทางหนึ่งนั่นเอง b. ค่าคงที่ทั้ง 4 ในฟิสิกส์ กล่าวคือในบรรดาค่าคงที่สำคัญทางฟิสิกส์ ที่จัดว่าเป็นค่าคงที่พื้นฐานมีเพียงจำนวน 4 ค่า คือ c, h, e, และ G เท่านั้น หากให้แต่ละด้านของพีระมิดแทนค่าคงที่แต่ละตัว พีระมิด 4 ด้านก็แทนได้ด้วยค่าคงที่ทั้ง 4 นี้ ขณะเดียวกันหมู่พีระมิดมีจำนวน 3 องค์โดยแต่ละองค์ประกอบด้วยเส้นตรง 8 เส้นนั่นคือ 3*8 หรือ 24 ย่อมตีความได้ว่า “ผลรวม”ของค่าคงที่ทั้ง 4 ในฟิสิกส์ มีความสัมพันธ์กับ 8 หรือ 24 นั่นเอง c. มิติทั้ง 4 คือ กว้าง ยาว สูง และเวลา หากกำหนดให้แต่ละด้านของพีระมิดแทนมิติทั้ง 4 คือ กว้าง(x) ยาว(y) สูง(z) และเวลา(t) หรือเขียนแบบพิกัดคือ (x,y,z,t) เราจะพบว่า มิติทั้ง 4 หรือ (x,y,z,t) จะพบกันที่ยอดพีระมิด ตีความได้ว่า ยอดพีระมิด คือจุดรวมของมิติทั้ง 4 ในจักรวาล และที่น่าประหลาดใจกว่านั้นคือ อาศัยการถอดรหัสจากความสัมพันธ์ของวงกลมกับพีระมิดพบว่า ยอดพีระมิดกับจุดศูนย์กลางของวงกลมเป็น “สิ่งเดียวกัน” และเป็นจุดรวมของ “อดีต ปัจจุบันและอนาคต”เข้าไว้ด้วยกัน ถือได้ว่ายอดพีระมิดคือ จุดที่มิติทั้ง 4 หรืออวกาศและเวลาเป็นศูนย์นั่นเอง เขียนในรูปพิกัดคือ (x,y,z,t)=(0,0,0,0) คือสิ่งที่เรียกว่า zero point หรือจุดกำเนิดของจักรวาลและสรรพสิ่งนั่นเอง แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าสัดส่วนของแรงทั้ง 4 ในจักรวาลมีค่าเท่ากับ 8 หรือ 24? 4. กฎแห่ง 24 กับฟิสิกส์ โชคดีที่ในเรื่องนี้มีนักฟิสิกส์ยุคปัจจุบันจำนวนหนึ่งสายตายาวไกล เกิดความสนใจค่าคงที่แบบไม่มีหน่วยที่เรียกว่า “ค่าคงที่คู่ควบ” หรือ the coupling constant ซึ่งในปัจจุบันมีเพียง 2 ค่า ดังนี้ 1. fine structure constant,or alpha ซึ่ง alpha นี้ ถูกนำเสนอในปี 1916 หรือ เกือบ 100 ปีที่ผ่านมา ค่า alpha เกี่ยวพันกับค่าคงที่ 3 ตัวคือ c, h, และ e ถือเอาได้ว่าค่าคงที่ทั้ง 3 เป็น “ตัวแทน”สัดส่วนของแรงทั้ง 3 ในจักรวาลคือ แรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงนิวเคลียร์อ่อน และแรงนิวเคลียร์แข็ง ยกเว้นแรงโน้มถ่วงซึ่งยังไม่ปรากฏในค่าคงที่คู่ควบ alpha นี้ 2. gravitational structure constant หรือ ค่าคงที่คู่ควบของสนามโน้มถ่วง สัญลักษณ์ alphaG เป็นค่าคงที่คู่ควบที่เป็นผลของสนามโน้มถ่วง ซึ่งวัดสนามโน้มถ่วงของอิเลคตรอนแบบไม่มีหน่วย มีค่าเท่ากับ 1.7518*10^-45 โดยเหตุที่ค่าคงที่คู่ควบทั้งสองจำนวนนี้ “ไม่มีหน่วย” หากนำมาดำเนินการทางคณิตศาสตร์ จะผลได้ที่สำคัญ 2 ประการดังนี้คือ 1) alpha /alphaG 4.165631*10^42 2) alphaG/alpha เท่ากับ 24.0059647*10^-44 กล่าวเฉพาะนัยความหมายสัดส่วนของแรงทั้ง 4 ผ่านสัดส่วนของค่าคงที่คู่ควบ alphaG/alpha = 24.0059647*10^-44 จะเห็นได้ว่าบ่งชี้ไปที่ 24.0000000*10^-44 อย่างมีนัยสำคัญ พูดอย่างสรุป คือสัดส่วนของแรงทั้ง 4 คือ 24 นั่นเอง ขณะที่ส่วนกลับของ 24.0000000*10^-44 คือ 4.166666 *10^42 หรือ (1/3.2^3)10^44 = 3333,33333 33333,33333 33333,33333 33333,33333 33333/2.2.2 ในเรื่องจำนวน 24 นี้ หากไฟน์แมน(Richard Phillips Feynman:1918-1988) ยังมีชีวิตอยู่และได้เห็นจำนวน 24 นี้ ผมคิดว่าเขาคงกล่าวอย่างฉงนแบบเดียวกับที่ได้กล่าวถึง fine structure constant, or alpha ว่า “It’s one of the greatest damn mysteries of physics: a magic number that comes to us with no understanding by man. แน่นอนว่าตัวเลขผลการทดลองหรือการวัดที่เป็นตัวเลข บางครั้งเราอาจไม่เข้าใจความหมายของมันในขณะนั้น แต่มันอาจบ่งชี้กฎเกณฑ์บางอย่างที่ซ่อนอยู่ซึ่งเราไม่เคยถูกค้นพบมาก่อนด้วยเช่นกัน เช่น กรณี แมกซ์เวลล์(James Clerk Maxwell:1831-1879) ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นนักฟิสิกส์ตลอดกาล 5 คนแรกของโลก เขาสังเกตผลการวัดความเร็วแสงในยุคนั้นจำนวน 2 ค่า คือ 3.14 และ 2.98*10^10 cm/s. แล้วตั้งคำถามยั่วขึ้นมาว่า “Why should the velocity of light be(practically) the same as Ampere’s constant? และในเวลาต่อมาทำให้แมกซ์เวลล์ ค้นพบทฤษฎีสำคัญยิ่งใหญ่และเป็นวรรคทองแห่งศตวรรษที่ 19 “แสง เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า” นั่นเอง นั่นคือ หากเราช่างสังเกต แล้วติดตามรอยกลิ่นมาและรู้สึกว่าใช่(smell right) ก็ต้องเพียรเดินไปตามทางนั้นอย่างสุดกำลังความสามารถ 5. กฎแห่ง 8 และ 24 ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น มีความสัมพันธ์กับ 8 ทั้งในฟิสิกส์และเคมี ไม่ใช่เรื่องบังเอิญว่าเหตุใดจึงเท่ากับ 8 ผมคิดว่าเพราะกฎแห่ง 8 เป็นกฎรากฐาน(fundamental law)ที่เป็นไปและดำรงอยู่ภายใต้กฎที่ใหญ่กว่า(mega law)คือ 24 ซึ่งเกิดจากสัดส่วนของแรงทั้ง 4 ในจักรวาลนั่นเอง หมายความต่อไปว่า ปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ ย่อมอยู่ในรูปของ 8 และ 24 ตลอดจนหน่วยย่อยของ 24 ซึ่งประกอบด้วย 2, 3, 4, 8, 12 และ 16 เพราะเหตุว่า 8 คือ 2.2.2 หรือ 2^3 และ 24 คือ 3*8 ขณะ 12 คือ 24/2 และ 16 คือ 2/3 ของ24 หรือ 4*8(1/2) นั่นเอง ดังนั้นหน่วยย่อยของ 24 จึงรวมไปถึงสัดส่วนหรือรากของ 2 และ 3 ด้วยเช่นกัน เช่น 1/2, 1/3, รากที่สองของ 2 และรากที่สองของ 3 เป็นต้น และภายใต้กฎแห่ง 24 เราอาจแลเห็นกฎเกณฑ์ทางฟิสิกส์เป็นจำนวนเท่าของ 24 ในรูปแบบต่างๆกัน เช่น 16 ซึ่งเกิดจาก 4*8/2 หรือ 18 แม้ดูว่าอาจไม่สัมพันธ์กับกฎแห่ง 8 โดยตรง แต่ 18 เกิดจากองค์ประกอบของ 24 ที่เป็น 2 และ 3 คือ 2*3*3 เป็นต้น แต่จะไม่ปรากฏว่ามีสัดส่วนของแรงที่เป็น 9, 10, 11, 13, 14, 15, 17 หรือ 19 โดยเด็ดขาด เพราะขัดต่อกฎแห่ง 24 นั่นเอง แน่นอนว่า จำนวนที่เป็นอื่น เช่น 5,6 และ 7 ซึ่งเป็นข้อยกเว้นของกฎแห่ง 8 อาจมีอยู่และดำรงอยู่ แต่จะพยายามมีองค์ประกอบให้ครบ 8 เพื่อความเสถียร และจำนวนมากอาจปรากฏอยู่ในกฎเกณฑ์ทางชีวเคมี เพราะผลลัพธ์ที่ได้เหล่านี้ไม่ได้เกิดจากกลไกและสัดส่วนของแรงทั้ง 4 ทางฟิสิกส์โดยตรง แต่เป็นผลของสภาพแวดล้อมและวิวัฒนาการรวมกันนั่นเอง 6. ข้อสังเกต ในตารางมาตรฐานของอนุภาค หรือ Standard Model เราจะพบเห็นจำนวนที่เป็นโครงสร้างสร้างพื้นฐานเช่นกัน โดยมีการแบ่งเป็น 2 บ้าง แบ่งเป็น 3 บ้าง แล้วแต่การจัดประเภทกลุ่ม และการแบ่งเช่นนี้ จะสัมพันธ์กับจำนวนที่เป็น 8, 12, และ 24 ด้วย เช่น เฟอร์เมียน(fermions)มี 4 ตัวคือ ควากส์(quarks) 2 อนุภาค เลปตอน(leptons) 2 อนุภาค และปฏิอนุภาค(antiparticles)อีก 4 อนุภาค รวมเป็น 8 อนุภาค แต่ละอนุภาคมี 3 รุ่น(generations or family) ดังนั้นเฟอร์เมียนมีอนุภาครวม 24 อนุภาค หรือเฟอร์เมียนมี 12 อนุภาค และปฏิอนุภาคอีก 12 รวมเป็น 24 อนุภาค ซึ่งกฎแห่ง 24 นี้ ไม่ใช่เรื่องบังเอิญอย่างแน่นอน • บทส่งท้าย สิ่งที่เรียกว่า octet rule ของธาตุ 8 หมู่ และ eight of gluons หรือ color octet ในควากส์(quarks) เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่สัมพันธ์กับเลข 8 อย่างมีนัยสำคัญ และเผยโฉมออกมาในรูปโครงสร้างทางตัวเลขที่สวยงามและพิสดารของ 2 และ 3 คือ (1/24)10^44 = (1/3*8)10^44 =(1/3*2*2*2)10^44= 33,333,333,333,333,333,333,333,333,333,333,333,333,333,333/2.2.2 ราวกับเฉลยความลับจักรวาลแบบหมดเปลือกว่าเหตุใด 2 และ3 คือจำนวนรากฐานของ 8 และ 24 นั่นเอง บัดนี้ สิ่งที่ไฟน์แมนกล่าวไว้คือ ตัวเลขมหัศจรรย์ที่ปรากฏสู่เรา โดยปราศจากความเข้าใจของมนุษย์ กำลังถูกเฉลยแบบหงายกะลาที่ถูกคว่ำเอาไว้ ขณะเดียวกันหมู่พีระมิดแห่งกีซา อาจเข้ารหัสกฎแห่ง 8 และ 24 เอาไว้ด้วยเช่นกัน หมายความว่าหมู่พีระมิด “บังเอิญ”ได้ซุกซ่อนความลับสัดส่วนแรงทั้ง 4 ในจักรวาลคือ 24 เอาไว้กระนั้นหรือ? หากไม่ใช่เรื่องบังเอิญ คำถามสำคัญย่อมกลับมาที่เดิมคือ แล้วผู้ใดสร้างหมู่พีระมิด?

02 กุมภาพันธ์ 2558

กฎจักรวาลแห่ง 8 และ 24 กับแรงทั้ง 4 และพีระมิด

หมู่พีระมิดแห่งกีซา(The Three Giza Pyramids) ประเทศอียิปต์ ซึ่งมีทั้งหมดจำนวนสามองค์ ประกอบด้วย Khufu, Khafre, และ Menkaure จัดเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณที่ได้รับความสนใจจากมนุษย์ตลอดมา เป็นสถาปัตยกรรมที่มีคนหลงใหลถอดรหัสมากที่สุดอย่างหนึ่งของโลก นับแต่ยุคเซอร์นิวตัน(Sir Isaac Newton)ที่เชื่อว่าสถาปัตยกรรมของหมู่พีระมิดมีความเกี่ยวพันกับ “พลังอำนาจอันมหาศาล” และ “จำนวนตัวเลขลึกลับ ตราบถึงผลงานการถอดรหัสอันโด่งดังของ Graham Hancockในหนังสือ The Fingerprints of the Gods : The Evidence of Earth’s Lost Civilization ซึ่งเขาเสนอทฤษฎีใหม่ว่าหมู่พีระมิดมีอายุมากกว่า 12,500 ปี ทำให้การศึกษาพีระมิดแบบกระแสทางเลือก กลายเป็นหัวข้อที่ได้รับความสนใจในวงกว้าง กล่าวสำหรับนัยความหมาย ที่คาดว่าเกี่ยวข้องหรือซุกซ่อนอยู่ในหมู่พีระมิดได้แก่สิ่งต่อไปนี้ จำนวนตัวเลขลึกลับของโทธ(Numbers of Thoth) อัตราส่วนทองคำ(Golden ratio) Fibonacci numbers แสง ค่าไพ(pi สัญลักษณ์ p) วงกลม หน่วยวัด แสงที่อยู่ตรงกลาง(fire in the middle) หน่วยวัดสัมพันธ์กับแสง monument of light และ photon at rest เป็นต้น จะเห็นได้ว่าความหมายของพีระมิด วนเวียนอยู่กับ “จำนวน ค่าไพ แสง การวัด ตัวกลาง และวงกลม” นั่นเอง ทว่าธรรมดาของการเข้ารหัสต้องมีการ “เปิดเผยและปกปิด”ไว้ในคราวเดียวกัน เพื่อป้องกันมิให้เข้าใจได้โดยง่าย ขณะเดียวกันเปิดโอกาสให้ใครสักคนสามารถสังเกตเห็นและถอดรหัสได้เช่นกัน และหากเราพิจารณาพีระมิดส่วนที่เปิดเผยและเห็นชัดที่สุดคือโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมอันได้แก่ความสูง และจำนวนด้าน(หรือขอบเหลี่ยมที่เป็นเส้นตรง)ของพีระมิด พบว่าพีระมิดประกอบจากรูป 3เหลี่ยมจำนวน 4 รูปหรือ 4 ด้าน โดยประกอบจากเส้นตรงจำนวน 8 เส้น คือที่ฐาน 4 เส้น และสูงเอียงอีก 4 เส้น รวมมีเส้นตรงจำนวน 8 เส้น ขณะเดียวกันหมู่พีระมิดแห่งกีซามีจำนวน 3 องค์ ราวกับมีเจตนาเพิ่มเติมนัยความหมายสำคัญบางประการ ดังนั้นจากสิ่งที่เปิดเผยอย่างชัดแจ้งและแบบต้องตีความกล่าวได้ว่าหมู่พีระมิดต้องการเข้ารหัส 8 และ 24(อันเกิดจากพีระมิดสามองค์ หรือ 3*8) ที่น่าประหลาดใจคือ แนวคิดของการตีความว่าสถาปัตยกรรมของพีระมิดซุกซ่อนค่า p เอาไว้ผ่านความสัมพันธ์ ความยาวฐาน = ความสูง*p/2 นั้น พบว่าอักษรกรีก p อยู่ลำดับที่ 16 (หรือสองเท่าของ 8) ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องบังเอิญที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ยากจะบังเอิญ แล้วอะไรคือ นัยความหมายและความสำคัญของ 8 และ 24 ที่ผู้สร้างหมู่พีระมิดต้องการเข้ารหัสเอาไว้อย่างนั้นหรือ? 1. ความสำคัญของ 8 เลข 8 มักปรากฏผ่านสายตาเราอยู่เสมอและมักมีการตีความแตกต่างกันตามอารยธรรม กล่าวคือ เลข 8 ในทางอารยธรรมของวัฒนธรรมจีน เห็นว่าเลข 8 เป็นเลขมงคล เกี่ยวข้องกับเซียน ความสำเร็จและเป็นเลขนำโชค อารยธรรมตะวันตกมักมองว่าเลข 8 เป็นตัวแทนของความไม่สิ้นสุด เพราะตัวเลขพ้องกับเครื่องหมายแห่งความไม่สิ้นสุดหรือ infinity นั่นเอง ขณะที่โหราศาสตร์ไทยและอินเดียและบางสำนักมองว่าเลข 8 เป็นตัวแทนของดาวราหูคือ ความลึกลับ มัวเมา มืดมัว ความไม่รู้ และสิ่งอัปมงคล เป็นต้น กล่าวในทางฟิสิกส์และเคมี เลข 8 เป็นตัวเลขที่มีความสำคัญมาก เพราะเป็นกฎเกณฑ์สำคัญที่เรียกว่า octet rule หรือกฎแห่ง 8 ในวิชาเคมีของธาตุ 8 หมู่ ขณะเดียวกันฟิสิกส์อนุภาค จะกล่าวถึงกลูออนส์ 8สี หรือ eight of gluons หรือ color octet ในควากส์(quarks) 2. เหตุใดต้องเป็นกฎแห่ง 8 ทำไมต้องเป็นกฎแห่ง 8 แล้วเหตุใดไม่เป็นกฎแห่ง 5, 6, 7 หรือ 9 เป็นคำถามที่แสนง่าย แต่คงไม่มีใครตอบคำถามนี้ได้ เพราะเป็นเรื่องลึกซึ้งซับซ้อนมาก กรณีเคมี ได้แบ่งธาตุออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือกลุ่ม A และ B กลุ่ม A มี 8 หมู่ คือ 1A 2A 3A 4A 5A 6A 7A 8A ส่วนกลุ่ม B มี 8 หมู่เช่นเดียวกัน คือ 1B 2B 3B 4B 5B 6B 7B 8B 8B 8B จะเห็นได้ว่าธรรมชาติได้ “เผย”รูปแบบของกฎเกณฑ์ความสัมพันธ์ทางกายภาพที่สัมพันธ์กับ 8 ออกมาบางส่วน หรือแม้กระทั่งการจัดเรียงตัวของอิเลคตรอนในแต่ละชั้น แต่ละธาตุจะพยามยามจัดให้ครบ 2 และ 8 อย่างมีนัยสำคัญ เช่น Na = 2 , 8 , 1 หรือ Mg = 2 , 8 , 2 หรือ K = 2 , 8 , 8 , 1 เป็นต้น ขณะเดียวกันกฎแห่ง 8 อาจเป็นกฎที่ใช้กับปรากฏการณ์ระดับย่อยลงไปได้อีก นั่นเพราะว่า 8 เกิดจาก 2.2.2 หรือ 2^3 กล่าวคือ 8 ประกอบจาก 2 จำนวน 3 ตัว เช่น การจัดเรียงตัวตามตัวอย่างของ K = 2 , 8 , 8 , 1 จะเห็นได้ว่าอิเลคตรอนชั้นในสุด จะพยายามมีจำนวน 2 ตัว ซึ่ง 2 เป็นองค์ประกอบหนึ่งของ 8 เป็นต้น และอย่างที่ทราบกันดีในฟิสิกส์อนุภาคว่า จักรวาลนี้มีแรง 4 ชนิด คือ แรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงนิวเคลียร์อ่อน แรงนิวเคลียร์แข็ง และแรงโน้มถ่วง ผลรวมของแรงทั้ง 4 พยากรณ์ได้ว่าอาจปรากฏออกมาในรูปของ 8 และหรือ 24 หรือ จำนวนเท่าของ 8 ก็ได้เช่นกัน 3. ทำไมต้อง 8 หรือ 24 พีระมิดแต่ละองค์ประกอบด้วยเส้นตรงจำนวน 8 เส้น หมู่พีระมิดมี 3 องค์ รวมแล้วมีเส้นตรงจำนวน 3*8 เท่ากับ 24 เส้น ตัวเลข 24 คือ เจตนาการสร้างหมู่พีระมิดอย่างนั้นหรือ? เลข 24 มีความสัมพันธ์อย่างไรต่อสัดส่วนของแรงทั้ง 4 ในจักรวาลอย่างนั้นหรือ? ก่อนอื่นลองย้อนกลับไปดูสถาปัตยกรรมโครงสร้างของพีระมิด ซึ่งมีจำนวน 4 ด้าน อาจตีความเจตนาการสร้างให้สัมพันธ์กับแรงทั้งสี่และอื่นๆได้ ดังนี้ a. หากให้แต่ละด้านของพีระมิดเป็นตัวแทนของแรงทั้ง 4 ในจักรวาล คือ แรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงนิวเคลียร์อ่อน แรงนิวเคลียร์แข็ง และแรงโน้มถ่วง เราจะพบว่า “ยอด”พีระมิด คือผลรวมของแรงทั้ง 4 และการรวมแรงทั้ง 4 นี้เข้าไว้ด้วยกัน กระทำอยู่บนสัดส่วนของ 8 คือ จำนวนเส้นตรงทั้ง 8 เส้น และหมู่พีระมิดมี 3 องค์ รวมจำนวนเส้นตรง 24 ดั้งนั้นแปลความได้ว่า แรงทั้ง 4 สัมพันธ์กับ 8 และ 24 ในทางใดทางหนึ่งนั่นเอง b. ค่าคงที่ทั้ง 4 ในฟิสิกส์ กล่าวคือในบรรดาค่าคงที่สำคัญทางฟิสิกส์ ที่จัดว่าเป็นค่าคงที่พื้นฐานมีเพียงจำนวน 4 ค่า คือ c, h, e, และ G เท่านั้น หากให้แต่ละด้านของพีระมิดแทนค่าคงที่แต่ละตัว พีระมิด 4 ด้านก็แทนได้ด้วยค่าคงที่ทั้ง 4 นี้ ขณะเดียวกันหมู่พีระมิดมีจำนวน 3 องค์โดยแต่ละองค์ประกอบด้วยเส้นตรง 8 เส้นนั่นคือ 3*8 หรือ 24 ย่อมตีความได้ว่า “ผลรวม”ของค่าคงที่ทั้ง 4 ในฟิสิกส์ มีความสัมพันธ์กับ 8 หรือ 24 นั่นเอง c. มิติทั้ง 4 คือ กว้าง ยาว สูง และเวลา หากกำหนดให้แต่ละด้านของพีระมิดแทนมิติทั้ง 4 คือ กว้าง(x), ยาว(y), สูง(z), และเวลา(t) หรือเขียนแบบพิกัดคือ (x,y,z,t) เราจะพบว่า มิติทั้ง 4 หรือ (x,y,z,t) จะพบกันที่ยอดพีระมิด ตีความได้ว่า ยอดพีระมิด คือจุดรวมของมิติทั้ง 4 ในจักรวาล และที่น่าประหลาดใจกว่านั้นคือ อาศัยการถอดรหัสจากความสัมพันธ์ของวงกลมกับพีระมิดพบว่า ยอดพีระมิดกับจุดศูนย์กลางของวงกลมเป็น “สิ่งเดียวกัน” และเป็นจุดรวมของ “อดีต ปัจจุบันและอนาคต”เข้าไว้ด้วยกัน กล่าวได้ว่ายอดพีระมิดคือ จุดที่มิติทั้ง 4 หรืออวกาศและเวลาเป็นศูนย์นั่นเอง เขียนในรูปพิกัดคือ (x,y,z,t)=(0,0,0,0) คือสิ่งที่เรียกว่า zero point หรือจุดกำเนิดของจักรวาลและสรรพสิ่งนั่นเอง คำถามสำคัญขณะนี้คือ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าสัดส่วนของแรงทั้ง 4 ในจักรวาลมีค่าเท่ากับ 8 หรือว่า 24? โชคดีที่ในเรื่องนี้มีนักฟิสิกส์ยุคปัจจุบันจำนวนหนึ่งสายตายาวไกล เกิดความสนใจค่าคงที่แบบไม่มีหน่วยที่เรียกว่า “ค่าคงที่คู่ควบ” หรือ the coupling constant ซึ่งในปัจจุบันมีเพียง 2 ค่า ดังนี้ 1. fine structure constant, or alpha สัญลักษณ์ a ซึ่ง a นี้ถูกนำเสนอในปี 1916 หรือ เกือบ 100 ปีที่ผ่านมา ค่า a เกี่ยวพันกับค่าคงที่ 3 ตัวคือ c, h, และ e ถือเอาได้ว่าค่าคงที่ทั้ง 3 เป็น “ตัวแทน”สัดส่วนของแรงทั้ง 3 ในจักรวาลคือ แรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงนิวเคลียร์อ่อน และแรงนิวเคลียร์แข็ง ยกเว้นแรงโน้มถ่วงซึ่งยังไม่ปรากฏในค่าคงที่คู่ควบ a นี้ 2. gravitational structure constant หรือ ค่าคงที่คู่ควบของสนามโน้มถ่วง aG เป็นค่าคงที่คู่ควบที่เป็นผลของสนามโน้มถ่วง ซึ่งวัดสนามโน้มถ่วงของอิเลคตรอนแบบไม่มีหน่วย มีค่าเท่ากับ 1.7518*10^-45 โดยเหตุที่ค่าคงที่คู่ควบทั้งสองจำนวนนี้ “ไม่มีหน่วย” หากนำมาดำเนินการทางคณิตศาสตร์ จะผลได้ที่สำคัญ 2 ประการดังนี้คือ 1) alpha /alphaG 4.165631*10^42 2) alphaG/alpha เท่ากับ 24.0059647*10^-44 กล่าวเฉพาะนัยความหมายสัดส่วนของแรงทั้ง 4 ผ่านสัดส่วนของค่าคงที่คู่ควบ alphaG/alpha = 24.0059647*10^-44 จะเห็นได้ว่าบ่งชี้ไปที่ 24.0000000*10^-44 อย่างมีนัยสำคัญ พูดอย่างสรุป คือสัดส่วนของแรงทั้ง 4 คือ 24 นั่นเอง ขณะที่ส่วนกลับของ 24.0000000*10^-44 คือ 4.166666 *10^42 หรือ (1/3.2^3)10^44 = 3333,33333 33333,33333 33333,33333 33333,33333 33333/2.2.2 ในเรื่องจำนวน 24 นี้ หากไฟน์แมน(Richard Phillips Feynman:1918-1988) ยังมีชีวิตอยู่และได้เห็นจำนวน 24 นี้ ผมคิดว่าเขาคงกล่าวอย่างฉงนแบบเดียวกับที่ได้กล่าวถึง fine structure constant, or alpha ว่า “It’s one of the greatest damn mysteries of physics: a magic number that comes to us with no understanding by man. แน่นอนว่าตัวเลขผลการทดลองหรือการวัดที่เป็นตัวเลข บางครั้งเราอาจไม่เข้าใจความหมายของมันในขณะนั้น แต่มันอาจบ่งชี้กฎเกณฑ์บางอย่างที่ซ่อนอยู่ซึ่งเราไม่เคยถูกค้นพบมาก่อนด้วยเช่นกัน เช่น กรณี แมกซ์เวลล์(James Clerk Maxwell:1831-1879) ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นนักฟิสิกส์ตลอดกาล 5 คนแรกของโลก เขาสังเกตผลการวัดความเร็วแสงในยุคนั้นจำนวน 2 ค่า คือ 3.14 และ 2.98*10^10 cm/s. แล้วตั้งคำถามยั่วขึ้นมาว่า “Why should the velocity of light be(practically) the same as Ampere’s constant? และในเวลาต่อมาทำให้แมกซ์เวลล์ ค้นพบทฤษฎีสำคัญยิ่งใหญ่และเป็นวรรคทองแห่งศตวรรษที่ 19 “แสง เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า” นั่นเอง นั่นคือ หากเราช่างสังเกต แล้วติดตามรอยกลิ่นมาและรู้สึกว่าใช่(smell right) ก็ต้องเพียรเดินไปตามทางนั้นอย่างสุดกำลังความสามารถ 4. กฎแห่ง 8 และ 24 ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น มีความสัมพันธ์กับ 8 ทั้งในฟิสิกส์และเคมี ไม่ใช่เรื่องบังเอิญว่าเหตุใดจึงเท่ากับ 8 ผมคิดว่าเพราะกฎแห่ง 8 เป็นกฎรากฐาน(fundamental law)ที่เป็นไปและดำรงอยู่ภายใต้กฎที่ใหญ่กว่า(mega law)คือ 24 ซึ่งเกิดจากสัดส่วนของแรงทั้ง 4 ในจักรวาลนั่นเอง หมายความต่อไปว่า ปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ ย่อมอยู่ในรูปของ 8 และ 24 ตลอดจนหน่วยย่อยของ 24 ซึ่งประกอบด้วย 2, 3, 4, 8, 12 และ 16 เพราะเหตุว่า 8 คือ 2.2.2 หรือ 2^3 และ 24 คือ 3*8 ขณะ 12 คือ 24/2 และ 16 คือ 2/3 ของ24 หรือ 4*8(1/2) นั่นเอง ดังนั้นหน่วยย่อยของ 24 จึงรวมไปถึงสัดส่วนหรือรากของ 2 และ 3 ด้วยเช่นกัน เช่น 1/2, 1/3, รากที่สองของ 2 และรากที่สองของ 3 เป็นต้น และภายใต้กฎแห่ง 24 เราอาจแลเห็นกฎเกณฑ์ทางฟิสิกส์เป็นจำนวนเท่าของ 24 ในรูปแบบต่างๆกัน เช่น 16 ซึ่งเกิดจาก 4*8/2 หรือ 18 แม้ดูว่าอาจไม่สัมพันธ์กับกฎแห่ง 8 โดยตรง แต่ 18 เกิดจากองค์ประกอบของ 24 ที่เป็น 2 และ 3 คือ 2*3*3 เป็นต้น แต่จะไม่ปรากฏว่ามีสัดส่วนของแรงที่เป็น 9, 10, 11, 13, 14, 15, 17 หรือ 19 โดยเด็ดขาด เพราะขัดต่อกฎแห่ง 24 นั่นเอง แน่นอนว่า จำนวนที่เป็นอื่น เช่น 5,6 และ 7 ซึ่งเป็นข้อยกเว้นของกฎแห่ง 8 อาจมีอยู่และดำรงอยู่ แต่จะพยายามมีองค์ประกอบให้ครบ 8 เพื่อความเสถียร และจำนวนมากอาจปรากฏอยู่ในกฎเกณฑ์ทางชีวเคมี เพราะผลลัพธ์ที่ได้เหล่านี้ไม่ได้เกิดจากกลไกและสัดส่วนของแรงทั้ง 4 ทางฟิสิกส์โดยตรง แต่เป็นผลของสภาพแวดล้อมและวิวัฒนาการรวมกันนั่นเอง 5. ข้อสังเกต ในตารางมาตรฐานของอนุภาค หรือ Standard Model เราจะพบเห็นจำนวนที่เป็นโครงสร้างสร้างพื้นฐานเช่นกัน โดยมีการแบ่งเป็น 2 บ้าง แบ่งเป็น 3 บ้าง แล้วแต่การจัดประเภทกลุ่ม และการแบ่งเช่นนี้ จะสัมพันธ์กับจำนวนที่เป็น 8, 12, และ 24 ด้วย เช่น เฟอร์เมียน(fermions)มี 4 ตัวคือ ควากส์(quarks) 2 อนุภาค เลปตอน(leptons) 2 อนุภาค และปฏิอนุภาค(antiparticles)อีก 4 อนุภาค รวมเป็น 8 อนุภาค แต่ละอนุภาคมี 3 รุ่น(generations or family) ดังนั้นเฟอร์เมียนมีอนุภาครวม 24 อนุภาค หรือเฟอร์เมียนมี 12 อนุภาค และปฏิอนุภาคอีก 12 รวมเป็น 24 อนุภาค ซึ่งกฎแห่ง 24 นี้ ไม่ใช่เรื่องบังเอิญอย่างแน่นอน 6. บทส่งท้าย สิ่งที่เรียกว่า octet rule ของธาตุ 8 หมู่ และ eight of gluons หรือ color octet ในควากส์(quarks) เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่สัมพันธ์กับเลข 8 อย่างมีนัยสำคัญ และเผยโฉมออกมาในรูปโครงสร้างทางตัวเลขที่สวยงามและพิสดารของ 2 และ 3 คือ (1/24)10^44 = (1/3*8)10^44 =(1/3*2*2*2)10^44= 33,333,333,333,333,333,333,333,333,333,333,333,333,333,333/2.2.2 ราวกับเฉลยความลับจักรวาลแบบหมดเปลือกว่าเหตุใด 2 และ3 คือจำนวนรากฐานของ 8 และ 24 นั่นเอง บัดนี้ สิ่งที่ไฟน์แมนกล่าวไว้คือ ตัวเลขมหัศจรรย์ที่ปรากฏสู่เรา โดยปราศจากความเข้าใจของมนุษย์ กำลังถูกเฉลยแบบหงายกะลาที่ถูกคว่ำเอาไว้ ขณะเดียวกันหมู่พีระมิดแห่งกีซา อาจเข้ารหัสกฎแห่ง 8 และ 24 เอาไว้ด้วยเช่นกัน หมายความว่าหมู่พีระมิด “บังเอิญ”ได้ซุกซ่อนความลับสัดส่วนแรงทั้ง 4 ในจักรวาลคือ 24 เอาไว้กระนั้นหรือ? หากไม่ใช่เรื่องบังเอิญ คำถามสำคัญย่อมกลับมาที่เดิมคือ แล้วผู้ใดสร้างหมู่พีระมิด?

07 ธันวาคม 2556

การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรง (ตอนที่4)

คำอธิบายเพิ่มเติมประกอบแนวคิด นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรง

1.    ที่มาของนโยบาย

ก.    ผู้สมัครสายอิสระ สายพรรคการเมือง หรือสายมหาวิทยาลัย จะการประชุมร่วมกันแต่แรก จึงอาจมีบางคนถอนตัว แลกกับให้มีนโยบายของตนบรรจุไว้กับผู้สมัครบางคนที่เห็นว่ามีศักยภาพกว่าหรือสูงสุด แล้วตกลงใจช่วยหาเสียงแลกกับตำแหน่งทางการเมืองหากมีชัยชนะ แล้วแต่ข้อตกลง  ดังนั้นการถอนตัวแลกกับการบรรจุนโยบายลงตัวแทนของผู้สมัครจึงเป็นการสะสมนโยบายอย่างหนึ่ง เป็นการบูรณการนโยบายเข้าไว้ด้วยกันแล้วกลายเป็นนโยบายที่สมบูรณ์ระดับชาติในรอบสุดท้าย หรือ

ข.    การสะสมนโยบายเกิดขึ้นได้ในแต่ละรอบ  เพราะมีผู้สอบตก  ดังนั้นผู้เข้ารอบต่อไปมีสิทธินำนโยบายบางส่วนของคนตกรอบมาบรรจุเพิ่มเติมไว้ใน นโยบายของตน และอาจได้รับการสนับสนุนช่วยหาเสียง จากคนที่ตกรอบ ทำให้มีการสะสมนโยบาย และสะสมผู้ช่วยหาเสียงตามธรรมชาติ ตั้งแต่การเลือกตั้งรอบที่สองเป็นต้นไป

ค.    นโยบายรอบสุดท้าย ซึ่งมีแข่งขันกันสองคน หรือสองทีมนั้น นโยบายต้องผ่านการเห็นชอบจากรัฐเสียก่อน  เช่น ประกอบด้วยตัวแทนของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ ที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  สำนักนายกรัฐมนตรี อัยการสูงสุด กฤษฎีกา กระทรวงมหาดไทย เพื่อให้เป็นนโยบายที่มีประโยชน์อย่างยั่งยืน และไม่เกิดการก่อหนี้ที่ไม่จำเป็น

2.     การเสนอชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง

ก.    สายผู้สมัครอิสระ ผู้สมัครอิสระมาประชุมพร้อมกัน  และอาจมีมติให้บางคนเป็นตัวแทนของสายเพื่อเข้าต่อสู้แข่งขัน ส่วนผู้สมัครที่เหลือถอนตัวแล้วช่วยหาเสียงและบูรณาการนโยบาย ทั้งหมดไว้ด้วยกัน  เช่น ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์  ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์  สมัครแบบ 2556.2 ในนามสายอิสระ และมีผู้สมัครอื่นๆ รวมแล้ว 10 คน  อาจมีการตกลงให้เหลือ 1 คน คือ ดร.ศุภชัย  เป็นตัวแทนของสายผู้สมัครอิสระ  ส่วนผู้สมัครที่เหลืออาจตกลงใจนำนโยบายเดิมของตนเองให้บรรจุในนโยบายของผู้สมัครที่เป็นตัวแทน  แล้วช่วยหาเสียงให้  และอาจมีสัญญาใจ หรือประกาศให้สาธารณะรับทราบว่า หากตนชนะ แล้วจะให้ผู้สมัครบางคนดำรงตำแหน่งในครม.  เช่น  ดร.ปุระชัย ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่ง รมว.มหาดไทย เป็นต้น

ข.    สายพรรคการเมือง  พรรคการเมืองจำนวนมากประชุมกัน แล้วอาจเสนอชื่อมาเพียง 2 ชื่อก็ได้ซึ่งเป็นตัวแทนของ 2 พรรค  ส่วนพรรคที่เหลือมาช่วยจัดทำนโยบาย และช่วยหาเสียงให้พรรคที่ตนสนับสนุน ซึ่งพอจะเห็นภาพร่างครม.ในอนาคต  หรืออาจมีการไพรมารี่ให้เหลือตัวแทนสายเพียง 1 คน(ของบางพรรคการเมือง) อาจเกิดความร่วมมือร่วมใจ ในการหาเสียงและเป็นครม.ร่วมกันในอนาคต แม้ทั้ง 2 พรรคเคยเป็นคู่ขัดแย้งกันมาก่อนก็ตาม เช่น เมื่อสายผู้สมัครอิสระ  มีมติส่งเข้าสมัคร 1 คน คือ ดร.ศุภชัย  ฝ่ายพรรคการเมืองอาจถูกบังคับ และถูกกดดันให้ต้องร่วมมือกันเฟ้นหาตัวผู้สมัครที่มีศักยภาพและฝีมือ พอสู้สายผู้สมัครอิสระได้  ซึ่งที่สุดแล้วจะเหลือผู้สมัครเพียง 1 รายชื่อเท่านั้นก็ได้

ค.    สายมหาวิทยาลัยไทย  มหาวิทยาลัยส่งตัวแทนประชุมเพื่อสรรหาและเสนอชื่อ แล้วค่อยไปทาบทาบผู้สมัครให้ได้ครบตามจำนวน  เมื่อได้ครบจำนวนแล้วจึงเรียกประชุมเสนอชื่อและหรือครม.เงา  ส่วนบางคนอาจถอนตัวในขั้นตอนนี้ แล้วมาช่วยหาเสียงในฐานะรัฐมนตรีอนาคตก็ได้  ดังนั้นสายมหาวิทยาลัย อาจเสนอชื่อเพียง 1-2 คน หรือทีมเท่านั้น ซึ่งอาจน้อยกว่าโควต้าที่กำหนดไว้  คือ 2556.1 เสนอได้ 4 ทีม หรือ 2556.2 เสนอได้ 10 รายชื่อ เป็นต้น

3.    นักการเมืองสังกัดพรรคหรือไม่?

ก.    ฝ่ายนิติบัญญัติ  อาจมาจากผู้สมัครอิสระ สังกัดพรรคการเมือง ขณะฝ่ายบริหารอาจมาจากอิสระ หรือสังกัดพรรคใดก็ได้ ดังนั้นพยากรณ์ได้ยากว่าในแต่ละวาระสมัยนั้น ฝ่ายใดครองเสียงข้างมาก ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจเลือกของประชาชนในแต่ละยุค

ข.    การออกแบบระบบ  กรณีเหตุการณ์ตามข้อ 3 ก ยากพยาการณ์ได้ว่าฝ่ายนิติบัญญัติ จะเห็นชอบกับนายกรัฐมนตรีทุกกรณี หรือไม่ เพื่อแก้ปัญหากรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างนายกรัฐมนตรี กับฝ่ายนิติบัญญัติ เช่น หาก พรบ.งบประมาณไม่ผ่านสภาผู้แทน ฯลฯ  จึงต้องมีการออกแบบกลไกให้สองสถาบันการเมืองนี้ ทำงานร่วมกันอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ เช่น เกณฑ์ของจำนวนเสียงขั้นต่ำของมติ  อำนาจของวุฒิสภาในการยับยั้งกฎหมาย และสุดท้ายคือการใช้ประชามติ ในกรณีเกิดความขัดแย้งอันไม่อาจตกลงกันได้ ซึ่งการออกกลไกเหล่านี้ จะได้มีการอภิปราย  หรือเสวนาในทฤษฎีทางรัฐศาสตร์กันต่อไป