06 ธันวาคม 2556
การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรง (ตอนที่2)
ตามที่ได้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรงในปัจจุบัน โดยประเด็นที่เป็นแกนกลางของปัญหาคือ ข้อกล่าวหาเรื่องการทุจริต การละเมิดหลักนิติรัฐนิติธรรม การครอบงำผูกขาดทางการเมือง การซื้อเสียงเลือกตั้ง การซื้อขายตำแหน่งราชการ กฎหมายมีสภาพบังคับน้อย ทำให้เศรษฐกิจและสังคมของชาติได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ขณะเดียวกันมีการเสนอทางออกให้มีการจัดตั้งสภาประชาชน และนายกพระราชทานตามมาตร 7 แห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งทั้งสองประการนี้ยังไม่เป็นที่ยุติว่าจะแก้ไขปัญหาของชาติได้แต่ประการใด เพราะยังมีความคิดเห็นแตกต่างกันเป็นอย่างมาก
เพื่อเป็นการออกไปจากวังวนแห่งปัญหานี้ จึงขอเสนอความคิดเห็นทางรัฐศาสตร์เรื่อง การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรง ที่วางอยู่บนรากฐานอันมั่นคงของหลักการระบอบประชาธิปไตย คือ
๑. อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน และประชาชนเป็นองค์อธิปัตย์ผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญตามทฤษฎีสัญญาประชาคม
๒. คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามหลักนิติรัฐนิติธรรม และรัฐต้องดำรงอยู่อย่างมั่นคงปลอดภัย
๓. มีการเลือกตั้งผู้แทนทางตรงและหรือทางอ้อม
๔. ปกป้องเสียงข้างมากและคุ้มครองเสียงข้างน้อย
๕. ตรากฎหมายตามหลักนิติรัฐนิติธรรม โดยฝ่ายนิติบัญญัติที่มาจากตัวแทนของปวงชนชาวไทย
๖. อำนาจรัฐต้องถูกตรวจสอบถ่วงดุลโดยสถาบันทั้งสาม คือ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ
๗. การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรง เช่น ประชามติ เสนอร่างกฎหมาย เสนอแก้รัฐธรรมนูญ เสนอถอดถอน ฯลฯ
เพื่อให้รัฐบาลมีเสถียรภาพและเข้มแข็ง พลังเงียบมีที่ยืน คนดีมีฝีมือกล้าอาสารับใช้บ้านเมือง ให้ปัญญาและเหตุผลนำสังคมประเทศชาติ รัฐบาลนำนโยบายแผนงานโครงการไปปฏิบัติอย่างจริงจังต่อเนื่อง ประเทศชาติพัฒนาก้าวหน้า ประชาชนมั่งคั่งเป็นสุข ประเทศชาติมั่นคงปลอดภัย ประชาชนเลือกผู้นำของตนเองตามวาระ ป้องกันการใช้เิงินหว่านซื้อเสียง ลดอิทธิพลของหัวคะแนน นักการเมืองท้องถิ่นและนักการเมืองระดับชาติ ข้าราชการไม่ตกอยู่ใต้อาณัติอิทธิพลของนักการเมือง การทุจริตโกงกินจางหายไป
จึงขอเสนอตัวแบบของระบบการปกครองไทย โดยนายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรง ดังนี้
คำอธิบายเพิ่มเติม
แบบที่ 1 ประชาธิปไตย 2556.1
ลำดับที่ 28 ระบบการเลือกตั้ง
1. ระบบการเลือกตั้ง
• เลือกตั้งนายกรัฐมนตรี(พร้อมคณะรัฐมนตรี10คน) โดยให้เลือกตั้ง 3 รอบ แบ่งเป็น 3 สาย คือ ผู้สมัครอิสระ ผู้สมัครสังกัดพรรค และผู้สมัครที่สรรหาโดยมหาวิทยาลัย ในการแข่งขันแต่ละรอบเป็นการแข่งขันของแต่ละทีมในสายเดียวกัน กระทั่งรอบที่ 3 เหลือผู้สมัคร 2 สายๆละ1 ทีม ให้ประชาชนเลือก 1 ทีม
• การแบ่งสายเลือกตั้งออกเป็น 3 สาย เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่มิได้เป็นสมาชิกพรรคการเมือง เป็นกลางทางการเมือง และพลังเงียบ ได้มีโอกาสรับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อสร้างความเป็นธรรม ความเสมอภาค และความสามารถแข่งขันกับพรรคการเมืองได้ ขณะที่การเปิดให้มีสายมหาวิทยาลัยเพื่อให้ ผู้ทรงปัญญาความรู้ของชาติ ได้มีบทบาทในการสร้าอนาคตของประเทศชาติ
• ก่อนเลือกตั้งรอบที่ 1 ให้มีการไพรมารี่(primary)เพื่อกลั่นกรองผู้สมัครที่อาจมีจำนวนมากให้เหลือจำนวนตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยให้ผู้สมัครแต่ละทีมนำเสนอนโยบาย แล้ววัดคะแนนความนิยมให้เหลือผู้สมัครรับเลือกตั้งสายละ 4 ทีม โดยการสำรวจคะแนนความนิยมอาจทำได้โดยการสุ่ม หรือโดยวิธีการอื่นใด ที่สุจริตเที่ยงธรรม หรือ
• ตั้งเกณฑ์ให้ผู้สมัครอิสระที่ได้คะแนนนิยมเกินลำดับที่10 จะถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 6 ปี ยกเว้นมีผู้สมัครรับเลือกตั้งแต่ละสายไม่ครบ 4 ทีม ไม่ต้องจัดให้มีไพรมารี่ก็ได้ หรือ
• ผู้สมัครอิสระแต่ละทีม ต้องมีรายชื่อผู้สนับสนุน 100, 000 คน และต้องมาจากรายภาคละเท่ากันคือ ภาคละ 20,000 คน และให้เรียกเก็บค่าสมัครรับเลือกตั้งคนละ 100, 000 บาท
• มาตรการทั้ง 3 ข้อดังกล่าว เป็นไปเพื่อกลั่นกรองและป้องกันมิให้มีจำนวนผู้สมัครรับเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีมีมากเกินไป กระทั่งทำให้ยากลำบากในการจดจำหมายเลขและการออกแบบบัตรเลือกตั้ง ทั้งนี้การเพิ่มเกณฑ์ให้สูงขึ้นจะไปกลั่นกรองให้เหลือผู้สมัครรับเลือกตั้งมีจำนวนลดลง แล้วจึงมีสิทธิเข้าสู่รอบการแข่งขัน
• ในรอบที่ 1 ผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้ง 3 สาย ประกาศนโยบายและหาเสียง แล้วให้ประชาชนมีสิทธิลงคะแนนเลือกได้ไม่เกิน 3 คน(ทีม) ให้ผู้ได้คะแนนสูงสุด 2 คน(ทีม)แรกของแต่ละสาย เข้ารอบต่อไป
• ในรอบที่ 2 มีผู้สมัครรับเลือกตั้งเหลือสายละ 2 คน(ทีม) ประกาศนโยบายและหาเสียง(และเพิ่มเติม)ให้ประชาชนมีสิทธิลงคะแนนเลือกได้ไม่เกิน 2 คน(ทีม) แล้วให้ผู้ได้คะแนนลำดับสูงสุดของ 2 สายแรก เข้ารอบต่อไป
• ในรอบที่ 3(รอบสุดท้าย) เหลือผู้สมัครรับเลือกตั้งเพียง 2 คน(ทีม) ให้ประชาชนเลือก 1 คน(ทีม) เพื่อให้ได้นายกรัฐมนตรีที่ได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
• นายกรัฐมนตรีรักษาการเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
• ระยะเวลานับตั้งแต่ไพรมารี่กระทั่งสิ้นสุดการเลือกตั้งใช้เวลาไม่เกิน 6 เดือน
• นโยบายหาเสียง ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งประกาศนโยบายและหาเสียง โดยรัฐอุดหนุนค่าใช้จ่ายนับตั้งแต่รอบแรกอย่างเพียงพอ ผ่านทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ต และป้ายหาเสียงตามจุดที่กำหนดไว้เท่านั้น
2. คณะรัฐมนตรี
• นากยกรัฐมนตรีแต่งตั้งรองนายกและรัฐมนตรี โดยอาจแต่งตั้งคู่แข่งทางการเมืองจากผู้สมัครรับเลือกตั้ง ที่ตกรอบเป็นต้นไป หรือบุคคลภายนอกก็ได้
• ในกรณีแต่งตั้งรองนายก หรือรัฐมนตรีจากบุคคลภายนอก ต้องได้รับการรับรองคุณสมบัติจากวุฒิสภาเสียก่อน
• ในกรณีเกิดความขัดแย้งในการตรากฎหมาย พรบ.งบประมาณ หนังสือสำคัญระหว่างประเทศ และกรณีอื่นใดที่มิได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญระหว่างนายกรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรี กับสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภา ให้กกต. จัดทำประชามติ โดยคำแนะนำของกรรมการรัฐธรรมนูญ เพื่อยุติปัญหาความขัดแย้งนั้น(เป็นหัวข้อใหญ่ที่ต้องผ่านการอภิปรายทางวิชาการรัฐศาสตร์อย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้ข้อยุติ)
แบบที่ 2 ประชาธิปไตย 2556.2
ลำดับที่ 28 ระบบการเลือกตั้ง
1. ระบบการเลือกตั้ง
• เลือกตั้งนายกรัฐมนตรี โดยให้เลือกตั้ง 3 รอบ แบ่งเป็น 3 สาย คือ ผู้สมัครอิสระ ผู้สมัครสังกัดพรรค และผู้สมัครที่สรรหาโดยมหาวิทยาลัย การแข่งขันในแต่ละรอบเป็นการแข่งขันในสาย แล้วในรอบที่ 3 เหลือผู้สมัครเพียง 2 สายๆละ1 คน ให้ประชาชนเลือก
• การแบ่งสายเลือกตั้งออกเป็น 3 สาย เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่มิได้เป็นสมาชิกพรรคการเมือง เป็นกลางทางการเมือง และพลังเงียบ ได้มีโอกาสรับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อสร้างความเป็นธรรม ความเสมอภาค และความสามารถแข่งขันกับพรรคการเมืองได้ ขณะที่การเปิดให้มีสายมหาวิทยาลัยเพื่อให้ ผู้ทรงปัญญาความรู้ของชาติ ได้มีบทบาทในการสร้าอนาคตของประเทศชาติ
• ก่อนเลือกตั้งรอบที่ 1
(1)ให้มีการไพรมารี่(primary)เพื่อกลั่นกรองผู้สมัครที่อาจมีจำนวนมากให้เหลือจำนวนตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยให้ผู้สมัครแต่ละทีมนำเสนอนโยบาย แล้ววัดคะแนนความนิยมให้เหลือผู้สมัครรับเลือกตั้งสายละ 10 คน โดยการสำรวจคะแนนความนิยมอาจทำได้โดยการสุ่ม หรือโดยวิธีการอื่นใด ที่สุจริตเที่ยงธรรม หรือ
(2)ตั้งเกณฑ์ให้ผู้สมัครอิสระที่ได้คะแนนนิยมเกินลำดับที่ 10 จะถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 6 ปี ยกเว้นมีผู้สมัครรับเลือกตั้งแต่ละสายไม่ครบ 10 คน ไม่ต้องจัดให้มีไพรมารี่ก็ได้ หรือ
(3)ผู้สมัครอิสระแต่ละคน ต้องมีรายชื่อผู้สนับสนุน 100, 000 คน และต้องมาจากรายภาคละเท่ากันคือ ภาคละ 20,000 คน และให้เรียกเก็บค่าสมัครรับเลือกตั้งคนละ 100, 000 บาท
• มาตรการทั้ง 3 ข้อดังกล่าว เป็นไปเพื่อกลั่นกรองและป้องกันมิให้มีจำนวนผู้สมัครรับเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีมีมากเกินไป กระทั่งทำให้ยากลำบากในการจดจำหมายเลขและการออกแบบบัตรเลือกตั้ง ทั้งนี้การเพิ่มเกณฑ์ให้สูงขึ้นจะไปกลั่นกรองให้เหลือผู้สมัครรับเลือกตั้งมีจำนวนลดลง แล้วจึงมีสิทธิเข้าสู่รอบการแข่งขัน
• ในรอบที่ 1 ผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้ง 3 สาย คือ 30 คน ประกาศนโยบายและหาเสียง แล้วให้ประชาชนมีสิทธิลงคะแนนเลือกได้ไม่เกิน 5 คน ให้ผู้ได้คะแนนสูงสุด 5 คนแรกของแต่ละสาย เข้ารอบต่อไป
• ในรอบที่ 2 มีผู้สมัครรับเลือกตั้งเหลือสายละ 5 คน ให้ประกาศนโยบายและหาเสียง(และเพิ่มเติม)ให้ประชาชนมีสิทธิลงคะแนนเลือกได้ 3 คน แล้วให้ผู้ได้คะแนนสูงสุด 2 สายแรก เข้ารอบสายละ 1 คนต่อไป
• ในรอบที่ 3(รอบสุดท้าย) เหลือผู้สมัครรับเลือกตั้งเพียง 2 มาจาก 2 สาย ให้ประชาชนเลือก 1 คน เพื่อให้ได้นายกรัฐมนตรีที่ได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
• นายกรัฐมนตรีรักษาการเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
• ระยะเวลานับตั้งแต่ไพรมารี่กระทั่งสิ้นสุดการเลือกตั้งใช้เวลาไม่เกิน 6 เดือน
• นโยบายหาเสียง ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งประกาศนโยบายและหาเสียง โดยรัฐอุดหนุนค่าใช้จ่ายนับตั้งแต่รอบแรกอย่างเพียงพอ ผ่านทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ต และป้ายหาเสียงตามจุดที่กำหนดไว้เท่านั้น
2. คณะรัฐมนตรี
• นากยกรัฐมนตรีแต่งตั้งรองนายกและรัฐมนตรี โดยอาจแต่งตั้งคู่แข่งทางการเมืองจากผู้สมัครรับเลือกตั้ง ที่ตกรอบเป็นต้นไป หรือบุคคลภายนอกก็ได้
• ในกรณีแต่งตั้งรองนายก หรือรัฐมนตรีจากบุคคลภายนอก ต้องได้รับการรับรองคุณสมบัติจากวุฒิสภาเสียก่อน
• ในกรณีเกิดความขัดแย้งในการตรากฎหมาย พรบ.งบประมาณ หนังสือสำคัญระหว่างประเทศ และกรณีอื่นใดที่มิได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญระหว่างนายกรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรี กับสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภา ให้กกต. จัดทำประชามติ โดยคำแนะนำของกรรมการรัฐธรรมนูญ เพื่อยุติปัญหาความขัดแย้งนั้น(เป็นหัวข้อใหญ่ที่ต้องผ่านการอภิปรายทางวิชาการรัฐศาสตร์อย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้ข้อยุติ)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น