07 ธันวาคม 2556

การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรง (ตอนที่3)

ผลดีและประโยชน์ของระบบ นายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งโดยตรง

สภาพปัญหา
ระบบรัฐสภา(ปัจจุบัน)
เลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรง
1 การซื้อเสียง

ซื้อเสียงผ่านหัวคะแนนและนักการเมืองท้องถิ่นและอิทธิพลของกำนันผู้ใหญ่บ้าน เกิดการทุจริตถอนทุนและตุนเงินไว้รอซื้อเสียงเลือกตั้งรอบใหม่ เพราะหากชนะเลือกตั้งได้เป็นรัฐบาล มีอำนาจดูแลงบประมาณแผ่นดิน ทำให้การซื้อเสียงคุ้มค่าและกล้าเสี่ยง นอกจากนี้การยกมือในสภาให้ผ่านมติแลกกับเงินก็เป็นการซื้อเสียงอย่างหนึ่ง
ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง การซื้อเสียงให้เป็นนายกฯกระทำได้ยากหรือมิได้เลย ทำให้ไม่จูงใจให้ซื้อเสียง ขณะที่ผู้แทนฝ่ายนิติบัญญัติไม่มีอำนาจในการใช้งบประมาณโดยตรง ทั้งนายกฯอาจเป็นผู้สมัครอิสระ หรือพรรคฝ่ายตรงข้ามกัน ดังนั้นย่อมไม่จูงใจสมาชิกรัฐสภาให้ซื้อเสียงเข้ามา  เพราะเสี่ยงไม่คุ้มทุน  หากการเมืองระดับชาติดี ย่อมบังคับให้ระดับท้องถิ่นต้องดีตามไปด้วย โดยอาจไม่ต้องปรับปรุงระบบในระดับท้องถิ่น
2 การทุจริตของนักการเมือง
การทุจริตมีสาเหตุหนึ่งจากการลงทุนซื้อเสียงแล้วต้องถอนทุน ส่วนอีกสาเหตุนั้นเกิดจากความโลภของฝ่ายบริหาร และยิ่งเป็นรัฐบาลผสม  ทำให้พรรคร่วมรัฐบาลมีอำนาจต่อรองมาก  ทำให้นายกฯไม่อาจควบคุมการทุจริตของพรรคร่วมได้
การมีนายกฯมาจากการเลือกตั้งระดับประเทศ ทำให้เป็นระบบที่ไม่ต้องการหัวคะแนน หรือนักการเมืองท้องถิ่นมาช่วยหาเสียง เพราะเป็นการเมืองระดับชาติ นโยบายระดับชาติ ไม่มีความสัมพันธ์ส่วนตัว  ผู้สมัครนายกฯไม่ลงทุนหาเสียง เพราะรัฐอุดหนุนค่าใช้จ่าย จึงไม่มีเหตุจูงใจให้ทุจริต ทั้งนายกฯแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีโดยเสรี โดยมาจากนักวิชาการอิสระก็ได้ ดังโบราณว่า หัวไม่ส่ายหางไม่กระดิกทำให้การเมืองระดับท้องถิ่นก้าวหน้าตามไปด้วย
3 เสถียรภาพของรัฐบาล

รัฐบาลมีเสถียรภาพน้อย ส่วนใหญ่ไม่อาจครองเสียงข้างมากในสภาได้ ได้รัฐบาลผสม พรรคร่วมรัฐบาลมีอำนาจมากในการต่อรองย้ายข้าง  ทำให้รัฐบาลอ่อนแอ  ไร้ประสิทธิภาพ ควบคุมการทุจริตพรรคร่วมยากเพราะยอม นโยบายขาดความต่อเนื่อง แต่บางสมัยรัฐบาลอาจมีเสถียรภาพมาก พรรคเดียวครองเสียงข้างมากในสภา  พรรคได้รับความนิยมมาก  ทำให้มติพรรคมีอำนาจมากเหนือความถูกต้องชอบธรรม หรือเหนือเอกสิทธิ์การลงมติของผู้แทน ทำให้เกิดพวกมากลากไปได้ง่าย
การแต่งตั้งและให้พ้นตำแหน่งเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรีโดยตรง ไม่มีอำนาจต่อรองของพรรคการเมืองได้  เพราะนายกต้องรับผิดชอบโดยตรงต่อประชาชน ทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพ มิใช่การต่อรองตำแหน่งตามโควต้าของมุ้งในพรรคอย่างระบบรัฐสภา ทำให้ชาติก้าวหน้า เจริญ รุ่งเรืองทัดเทียมอารยะประเทศในที่สุด
4 การทุจริตและซื้อซื้อตำแหน่งของข้าราชการ

ข้าราชการซื้อตำแหน่งจากหน่วยเหนือและนักการเมือง  และทำให้ต้องหาเงินจากสิ่งผิดกฎหมาย  เรียกรับเงินโดยทุจริตในตำแหน่งหน้าที่  ขรก.ระดับล่างหาเงินซื้อตำแหน่งจากหน่วยเหนือ หน่วยเหนือซื้อตำแหน่งจากนักการเมือง หรือยอมเป็นพวกอยู่ใต้อิทธิพลฝ่ายการเมืองแลกกับการโยกย้ายเลื่อนตำแหน่งแต่งตั้ง เป็นวังวนความชั่วร้ายไม่สิ้นสุด
นายกฯมาจากผู้สมัครอิสระ สังกัดพรรค หรือสายมหาวิทยาลัยก็ได้ ความไม่แน่นอนนี้ทำให้ข้าราชการไม่อาจเลือกข้างพรรคใดได้ ทั้งนายกฯมาจากการเลือกตั้งระดับประเทศมาจากสายใดก็ได้ ทำให้ข้าราชการมีความมั่นใจว่าจะไม่ถูกกลั่นแกล้งโยกย้าย ทั้งผู้แทนในสภาไม่มีอำนาจแบบระบบรัฐสภา(ที่อาจเป็นสมาชิกพรรคร่วมรัฐบาล)ทำให้ผู้แทนไม่มีบทบาทต่อข้าราชการโดยตรง ย่อมไม่เกิดการล้วงลูกให้วุ่นวาย
5.ปัญหาการบริหารราชการแผ่นดิน
ระบบปัจจุบันมีองค์กรอิสระจำนวนมาก และไม่มีเกณฑ์การรับคำร้องที่ดีพอ ทำให้ตกเป็นเครื่องมือทางการเมือง ร้องขอให้ตีความหยุมหยิม  เฟ้อ และเลยเถิด ทำให้บริราชการแผ่นดินล่าช้า ไร้ประสิทธิภาพ ไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์
เพื่อให้นายกฯที่เป็นตัวแทนของมหาประชาชนได้ทำงานในตำแหน่งอย่างราบรื่น
อาจต้องยุบเลิกองค์กรอิสระที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง เช่น ศาลปกครอง ศาลรธน. ปปช. กสม. ผู้ตรวจการแผ่นดิน แล้วให้สนง.คณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการรัฐธรรมนูญ อัยการสูงสุด และมูลนิธิเอกชนทำหน้าที่แทนกสม.ตามลำดับ เว้นแต่องค์กรอิสระปัจจุบัน ถูกเปลี่ยนแปลงที่มาของกรรมการ และมีเกณฑ์การรับคำร้องที่ดี  จึงอาจให้มีองค์กรอิสระไว้ต่อไปได้
6.ความต่อเนื่องของนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจสังคม
เนื่องจากรัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ มีอายุสั้น ต้องยุบสภา และลาออกบ่อย  เมื่อได้รัฐบาลใหม่  มีนโยบายอันใหม่มาแทนที่รัฐบาลเก่า ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของชาติสะดุด และไม่ต่อเนื่อง  ผลที่ได้คือ ทำให้ประเทศไทยล้าหลังกว่าประเทศเพื่อนบ้านมาก
นายกรัฐมนตรีมีโอกาสอยู่ในตำแหน่งครบวาระคือ 5-6 ปี ทำให้การผลักดันนโยบาย แผนงาน โครงการเป็นไปอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง ทั้งผู้แทนฝ่ายนิติบัญญัติก็ไม่มีหน้าที่โดยตรงในฝ่ายบริหาร จึงไม่อาจก้าวก่ายการทำงานได้ ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมมีรูปธรรมที่ชัดเจน เป็นสังคมที่ฝ่ายบริหารทำงานด้วยสติปัญญาและเหตุผลกว่าระบบปัจจุบันมาก
7.ปัญหาการถ่ายทอดสดการประชุมสภา
ปัจจุบันมีการถ่ายทอดสดประชุมสภา โดยเฉพาะญัตติไม่ไว้วางใจ มีการประท้วง วาจาหยาบคาย กิริยาคุกคาม ขว้างปาสิ่งของ เล่นเกมการเมืองจนเลยเถิด ทำให้ประชาชนเบื่อและเสื่อมศรัทธาในระบอบประชาธิปไตย เพราะนักการเมืองจ้องคอยแต่ทำลายฝ่ายตรงข้ามทุกรูปแบบ ใช้แต่สำนวนโวหาร เสียดสีฝ่ายตรงข้าม มากกว่าการอภิปรายเนื้อหาสาระแบบทางวิชาการที่ประชาชนฟังแล้วได้ความรู้
การถ่ายทอดสดประชุมทั่วไปของสภา เป็นการอภิปรายปัญหาเศรษฐกิจและสังคม มีเนื้อหาและบรรยากาศแบบทางวิชาการ ทำให้ประชาชนสนใจอยากติดตาม ได้สาระความรู้  และตอบคำถามแบบสาระความรู้  เพราะไม่ใช่การอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯ การถ่ายทอดสดทำให้ประชาชนศรัทธาระบอบการปกครองและมีความหวงแหนอยากปกป้องรักษา เกิดการเรียนรู้ทางการเมือง เป็นการปิดทางมิให้เรียกหาอำนาจนอกระบบบอีกต่อไป
8.พลังเงียบ
กลุ่มจัดตั้งมีพลังอำนาจและเสียงดังกว่าพลังเงียบที่มีจำนวนมาก เพราะระบบรัฐสภาบังคับให้สังกัดพรรค ทำให้ตัดสิทธิผู้สมัครอิสระ
พลังเงียบมีบทบาทมากขึ้น ทั้งการสมัครรับเลือกตั้งนายกและสมาชิกรัฐสภา เพราะไม่บังคับให้ผู้สมัครสังกัดพรรค และการที่ประชาชนเสนอชื่อผู้สมัครอิสระได้เอง ช่วยผู้สมัครหาเสียง หรือให้เงินบริจาค  ทำให้พลังเงียบกลายเป็นยักษ์ที่ถูกปลุกให้ตื่น
9.ปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย
ระบบปัจจุบัน ทำให้นักการเมือง รัฐบาล หัวคะแนน นักการเมืองท้องถิ่น ข้าราชการ การทุจริตและสิ่งผิดกฎหมายมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด  เพราะข้าราชการเกรงกลัวอำนาจอิทธิพลฝ่ายการเมือง ขณะฝ่ายการเมืองพึ่งพาหัวคะแนนและนักการเมืองท้องถิ่นในการหาเสียง ทำให้ธุรกิจผิดกฎหมายของหัวคะแนนทั้งหลายดำรงอยู่ได้ โดยข้าราชการไม่กล้าแตะต้อง แถมคอยคุ้มครองดูแล  ทำให้กฎหมายไม่มีสภาพบังคับกับสมาชิกของเครือข่ายทางการเมือง ทำให้เกิดสภาพบ้านเมืองไม่มีขื่อแปในที่สุด

นายกรัฐมนตรีอาจมาจากช่องทางใดใน 3 สาย อันยากพยากรณ์ทำให้การจับขั้วทางการเมืองมีพลวัตรที่ไม่แน่นอน ยากแก่การผูกขาด ทั้งการหาเสียงเลือกตั้งมีเงินอุดหนุนทำให้ไม่ต้องพึ่งพาผู้แทน นักการเมืองท้องถิ่นและหัวคะแนน  ทำให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปได้จริง เพราะไม่ต้องเกรงใจผู้แทน หรือหัวคะแนน ขณะเดียวกันรัฐมนตรีร่วมครม.นายกเสนอแต่งตั้งได้โดยอิสระมากกว่าโควต้าการต่อรองของพรรคร่วมรัฐบาลในระบบรัฐสภา  ทำให้นายกมีอำนาจต่อรองสูงคนร่วมครม.ได้สูง  มีอำนาจและอิสระมากขึ้นในการบังคับใช้กฎหมายเมื่อเปรียบเทียบกับระบบรัฐสภาของไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น